เอเชียใต้
เอเชียใต้หรือชมพูทวีปหรืออนุทวีปเป็นพื้นที่ทางใต้ของทวีปเอเชีย เป็นต้นกำเนิดพุทธศาสนาและ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เอเชียใต้มีพื้นที่ประมาณ 5,180,000 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 10 ของทวีปเอเชีย ภูมิภาคนี้เป็นภูมิภาคที่มีประชากรมากที่สุดอีกแห่งหนึ่งของโลก มีจำนวนประชากรกว่า 1 พันล้านคนอาศัย อยู่ในภูมิภาคนี้ ซึ่งคิดเปรียบเทียบเป็นสัดส่วนเท่ากับ 1 ใน 3 ของ ชาวเอเชียทั้งหมด หรือ 1 ใน 5 ของ ประชากรโลก อัตราความหนาแน่นของประชากรเท่ากับ 305 คนต่อพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น สัดส่วนที่สูงกว่าอัตราความหนาแน่นโดยเฉลี่ยของประชากรโลกถึง 7 เท่า ประเทศที่มีประชากรมากที่สุด คือประเทศอินเดีย (1,353,000 ล้านคนในปี 2561)
ลักษณะภูมิประเทศของเอเชียใต้ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง (เช่นที่ราบสูงเดกข่านในประเทศอินเดีย) และยังมีที่ ราบลุ่มแม่น้ำที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ได้แก่ที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคา (ในประเทศอินเดีย) ที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ (ในประเทศปากีสถาน) และที่ราบลุ่มแม่น้ำพรหมบุตร (ในประเทศบังกลาเทศ) ทางตอน เหนือของเอเชียใต้ติดกับที่ราบสูงทิเบตและเทือกเขาหิมาลัยทำให้มีอากาศหนาวเย็น
ด้านเศรษฐกิจ ทุกประเทศยังมีโครงสร้างส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรม อุตสาหกรรมยังไม่พัฒนา มากนัก มีเพียงอินเดียชาติเดียวที่พัฒนาอุตสาหกรรมได้เจริญรุ่งเรือง เพราะได้รับการช่วยเหลือจากประเทศ อุตสาหกรรมชั้นนำของเอเชียคือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน นอกจากนี้ภาษาที่ใช้ในเอเชียใต้มีมากถึง 800 ภาษา แต่ภาษากลางที่ใช้ในการสื่อสารคือภาษาอังกฤษ เมืองที่ใหญ่ที่สุดของเอเชียใต้คือมุมไบ ซึ่งเป็นเมือง ท่าทางตะวันตกของประเทศอินเดีย

ข้อมูลโดยย่อของ
เอเชียใต้

แผนการพัฒนาภูมิภาคเอเชีย
แผนแม่บทการพัฒนาประเทศเอเชีย
โดย NSUE
แนวทางการพัฒนาเมือง
