เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ เอเชียอาคเนย์ มีพื้นที่ประมาณ 4,600,000 ตารางกิโลเมตร ประชากรประมาณ 593,000,000คน (2008) ความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย 116.5 คนต่อตารางกิโลเมตร มีที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศ 11 ประเทศ ลักษณะทำเลที่ตั้งแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนภาคพื้นทวีปและภาคพื้นสมุทร ส่วนภาคพื้นทวีป ได้แก่ พม่า ไทย เวียดนาม ลาว กัมพูชา และมาเลเซียตะวันตก และภาคพื้นสมุทรได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซียตะวันออก ติมอร์-เลสเต บรูไน และสิงคโปร์ ลักษณะภูมิประเทศแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำ (ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดี ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา) ที่ราบสูง (ที่ราบสูงในรัฐฉาน เทือกเขาอาระกัน พื้นที่ส่วนใหญ่ของลาว ตอนเหนือของมาเลเซียตะวันตก) และ เขตหมู่เกาะ (หมู่เกาะอินโดนีเซีย หมู่เกาะฟิลิปปินส์ เกาะสิงคโปร์)
โครงสร้างทางเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนใหญ่เป็นแบบเกษตรกรรม ยกเว้นสิงคโปร์ และ บรูไนซึ่งมีการพัฒนาอุตสาหกรรมก้าวหน้าไปมาก ในขณะเดียวกันทุกประเทศก็พยายาม พัฒนาอุตสาหกรรม จนมีความก้าวหน้าไปมากด้วยเช่นเดียวกันได้แก่ ไทย มาเลเซีย เวียดนาม และ อินโดนีเซีย ในปัจจุบันกลุ่มประเทศ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการรวมกลุ่มกันเป็นสมาคมประชาชาติ แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีเมืองใหญ่ที่สำคัญหลายเมือง เช่น จาการ์ตา (เมืองใหญ่ที่สุดในภูมิภาค) กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ สงขลา โฮจิมินห์ซิตี ฮานอย ปูตราจายา กัวลาลัมเปอร์ สิงคโปร์ บันดาร์เซอรีเบอกาวัน และภูเก็ต เป็นต้น
ข้อมูลโดยย่อของ
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แผนการพัฒนาภูมิภาคเอเชีย
เอเชียเหนือ
เอเชียกลาง
เอเชียตะวันออก
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เอเชียใต้
เอเชียตะวันตกเฉียงใต้
แผนแม่บทการพัฒนาประเทศเอเชีย
โดย NSUE
ประเทศไทย
อาเซียน
เอเชีย
แนวทางการพัฒนาเมือง
เมืองอุตสาหกรรมเกษตร
เครือข่ายเกษตรกร
องค์กรกระจายสินค้าผลิตภัณฑ์การเกษตร
หน่วยงานจัดการขยะจากผลผลิตการเกษตรและวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
ศูนย์บริหารสภาพแวดล้อมรอบเมืองอุตสาหกรรม
เมืองอุตสาหกรรมและทางการเกษตร