ประเทศไทย


ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า “สยาม” รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปีพ.ศ. 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลาง การบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 77 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปีพ.ศ. 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่อง ในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัย เป็นจุดเริ่มต้น ของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจ ในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปีพ.ศ. 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปีพ.ศ. 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจ

 

 
โดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มี การนองเลือดหลายรัชกาลจน สุดท้าย กรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี พ.ศ. 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออก เป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ขึ้นครองราชย์เป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 
ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่ง สนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยาม ทันสมัย ดำเนินกุศโลบายที่ชาญฉลาดจนได้รับการยอมรับจากชาติมหาอำนาจและรวมอำนาจการปกครองที่ เหมาะสมในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปีพ.ศ. 2411–2453) สยามเข้าร่วมกับ ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปีพ.ศ. 2460 ใน ปี พ.ศ. 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลง การปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และ

 

 

ในพ.ศ. 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศ สงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐ รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นหัวหน้าคณะในปีพ.ศ. 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการ ต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตย ระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปีพ.ศ. 2531 หลังพ.ศ. 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้าน อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิด รัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปีพ.ศ. 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน 

ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติเอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตร ของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปีพ.ศ. 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศ อุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการ อพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปีพ.ศ. 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก 
ประเทศไทย

ภูมิอากาศ

 

ประเทศไทยมี 3 ฤดูกาล ฤดูแรกเป็นฤดูฝนหรือฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (กลางเดือนพฤษภาคมถึง กลางเดือนตุลาคม) ฝนตกหนักที่สุดในเดือนสิงหาคมและกันยายน ฤดูหนาวหรือฤดูมรสุมตะวันออกเฉียง เหนือเริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ 

 


พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ มีอากาศแห้งและอุณหภูมิ ไม่ร้อนมาก ยกเว้นภาคใต้ที่มีฝนตกหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน ส่วนฤดูร้อน หรือฤดูก่อนมรสุมกินเวลาตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคมซึ่งมีอากาศร้อน สำหรับภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ กลางและตะวันออกของประเทศไทย เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคมเป็นช่วงที่ร้อนที่สุดของปี ปกติอุณหภูมิมักสูงถึง 40 °C ยกเว้นพื้นที่ชายฝั่ง ในทางตรงข้าม การพัดของลมเย็นจากประเทศจีน ทำให้ อุณหภูมิต่ำลง ซึ่งบางกรณีอาจเข้าใกล้หรือต่ำกว่า 0 °C ได้ ภาคใต้มีความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างกลางวัน กลางคืนและระหว่างฤดูกาลน้อยเนื่องจากอิทธิพลของทะเล 

พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศมีฝนตกเฉลี่ยทั้งปี 1,200 ถึง 1,600 มิลลิเมตร แต่ในบางพื้นที่ที่เป็น ฝั่งรับลมของภูเขา เช่น จังหวัดระนองและจังหวัดตราดมีปริมาณฝนกว่า 4,500 มิลลิเมตรต่อปี ส่วนบริเวณ แห้งแล้งคือฝั่งรับลมของหุบเขาภาคกลางและส่วนเหนือสุดของภาคใต้ซึ่งมีปริมาณฝนเฉลี่ยต่อปีน้อยกว่า 1,200 มิลลิเมตร ในภาคใต้ ฝนตกหนักเกิดทั้งในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีมากสุดใน เดือนกันยายนในฝั่งตะวันตก และตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงมกราคมในฝั่งตะวันออก

 

ประเทศไทย


การแบ่งเขตการปกครอง


การแบ่งเขตการปกครองของประเทศไทย และจังหวัดในประเทศไทยการปกครองส่วนภูมิภาคจัด ระเบียบเป็น 77 จังหวัด 878 อำเภอ 7,255 ตำบล จังหวัดล่าสุดของประเทศไทย คือ จังหวัดบึงกาฬ ซึ่งแยกจากจังหวัดหนองคายในปี 2554

 

 

(66,038,607 + 21%)

รวม 79,820,864 คน

ประชากรของประเทศไทย

 


โครงการเมืองนิคมอุตสาหกรรมเกษตร

38 ศูนย์ในประเทศไทย

8 ศูนย์

ในภาคเหนือ

11 ศูนย์

ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

12 ศูนย์

ในภาคกลาง

7 ศูนย์

ในภาคใต้


แนวทางการพัฒนาเมือง

 

เมืองอุตสาหกรรมเกษตร

เครือข่ายเกษตรกร

องค์กรกระจายสินค้าผลิตภัณฑ์การเกษตร

หน่วยงานจัดการขยะจากผลผลิตการเกษตรและวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

ศูนย์บริหารสภาพแวดล้อมรอบเมืองอุตสาหกรรม

เมืองอุตสาหกรรมและทางการเกษตร

 

คุณต้องการทำความรู้จักกับ NSUE


เรามุ่งมั่นที่จะพัฒนาสภาพความเป็นอยู่และสิ่งแวดล้อมให้อยู่ร่วมกันในเมืองแห่งอนาคตได้อย่างไร

NSUE

บริษัท นิว อีร่า สกาย ยูไนเต็ด เอ็มไพร์ จำกัด

ทรัพย์แก้ว ทาวเวอร์

เลขที่ 448 / 414 ชั้นที่ 1 ถนนประชาอุทิศ แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย.

info@th.nsuec.com


+ 66 65 484 8888

+ 66 92 513 9999