เอเชียใต้
เอเชียใต้หรือชมพูทวีปหรืออนุทวีปเป็นพื้นที่ทางใต้ของทวีปเอเชีย เป็นต้นกำเนิดพุทธศาสนาและ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เอเชียใต้มีพื้นที่ประมาณ 5,180,000 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 10 ของทวีปเอเชีย ภูมิภาคนี้เป็นภูมิภาคที่มีประชากรมากที่สุดอีกแห่งหนึ่งของโลก มีจำนวนประชากรกว่า 1 พันล้านคนอาศัย อยู่ในภูมิภาคนี้ ซึ่งคิดเปรียบเทียบเป็นสัดส่วนเท่ากับ 1 ใน 3 ของ ชาวเอเชียทั้งหมด หรือ 1 ใน 5 ของ ประชากรโลก อัตราความหนาแน่นของประชากรเท่ากับ 305 คนต่อพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น สัดส่วนที่สูงกว่าอัตราความหนาแน่นโดยเฉลี่ยของประชากรโลกถึง 7 เท่า ประเทศที่มีประชากรมากที่สุด คือประเทศอินเดีย (1,353,000 ล้านคนในปี 2561)
ลักษณะภูมิประเทศของเอเชียใต้ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง (เช่นที่ราบสูงเดกข่านในประเทศอินเดีย) และยังมีที่ ราบลุ่มแม่น้ำที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ได้แก่ที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคา (ในประเทศอินเดีย) ที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ (ในประเทศปากีสถาน) และที่ราบลุ่มแม่น้ำพรหมบุตร (ในประเทศบังกลาเทศ) ทางตอน เหนือของเอเชียใต้ติดกับที่ราบสูงทิเบตและเทือกเขาหิมาลัยทำให้มีอากาศหนาวเย็น
ด้านเศรษฐกิจ ทุกประเทศยังมีโครงสร้างส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรม อุตสาหกรรมยังไม่พัฒนา มากนัก มีเพียงอินเดียชาติเดียวที่พัฒนาอุตสาหกรรมได้เจริญรุ่งเรือง เพราะได้รับการช่วยเหลือจากประเทศ อุตสาหกรรมชั้นนำของเอเชียคือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน นอกจากนี้ภาษาที่ใช้ในเอเชียใต้มีมากถึง 800 ภาษา แต่ภาษากลางที่ใช้ในการสื่อสารคือภาษาอังกฤษ เมืองที่ใหญ่ที่สุดของเอเชียใต้คือมุมไบ ซึ่งเป็นเมือง ท่าทางตะวันตกของประเทศอินเดีย
ข้อมูลโดยย่อของ
เอเชียใต้
แผนการพัฒนาภูมิภาคเอเชีย
เอเชียเหนือ
เอเชียกลาง
เอเชียตะวันออก
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เอเชียใต้
เอเชียตะวันตกเฉียงใต้
แผนแม่บทการพัฒนาประเทศเอเชีย
โดย NSUE
ประเทศไทย
อาเซียน
เอเชีย
แนวทางการพัฒนาเมือง
เมืองอุตสาหกรรมเกษตร
เครือข่ายเกษตรกร
องค์กรกระจายสินค้าผลิตภัณฑ์การเกษตร
หน่วยงานจัดการขยะจากผลผลิตการเกษตรและวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
ศูนย์บริหารสภาพแวดล้อมรอบเมืองอุตสาหกรรม
เมืองอุตสาหกรรมและทางการเกษตร