ศูนย์ปฏิบัติการ (ห้องแล็บ)
ความสำคัญในการบริหารจัดการด้านการเกษตรเริ่มต้นจากการวิจัยที่เกี่ยวข้องการวิจัยและพัฒนา พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ การตรวจสอบต่างๆ การตรวจวิเคราะห์ดินจุลินทรีย์ ปัจจัยการผลิตและตรวจรับรอง มาตรฐานผลผลิตทางการเกษตรศูนย์ปฏิบัติการกลางของอาเซียน จะมีศูนย์ย่อยขนาดใหญ่ กลาง และเล็กกระจายอยู่ทั่วภูมิภาค อาเซียน เพื่อสร้างมาตรฐานที่สูงที่สุดในการวิจัยพัฒนาการตรวจสอบ การตรวจวิเคราะห์ การตรวจรับรอง ในกระบวนการทางการเกษตรตั้งแต่ดินปัจจัยการผลิต โรคพืชแมลงศัตรูพืช ตลอดถึงผลผลิตทางการเกษตร และการแปรรูป
ศูนย์ควบคุมระบบ Super SCADA
ศูนย์ควบคุมระบบ SCADA (Supervisory Control And Data Acquisition System) หมายถึง “ระบบควบคุมแบบรวมจุดศูนย์กลาง” โดยระบบจะรวบรวมข้อมูล (Collection of information) จาก Field Instrument หรือ Controller ต่างๆจากหลายพื้นที่ภายในระบบอุตสาหกรรมการเกษตร ข้อมูลที่หลากหลาย ถูกส่งขึ้นมาที่ระบบประมวลผลหลัก (Transferring data to central site) จากนั้นจึงทำการวิเคราะห์ และประมวลผล (Analyze for data processing) โดยคอมพิวเตอร์เพื่อผลประโยชน์ทางด้านการ เก็บข้อมูลในฐานข้อมูลและการนำข้อมูลไปใช้งานตามต้องการ รวมถึงการควบคุมและสั่งการจากศูนย์กลาง
การดำเนินการการเกษตรทั้งหมดจะถูกเฝ้ามอง (Monitoring) เก็บข้อมูล คอยดูแล ติดตาม เฝ้าระวังความผิดปกติในพื้นที่ทำการเกษตร และตรวจสอบ สนับสนุน ช่วยเหลือการในดำเนินการการเกษตร รวมถึงระบบแปรรูปสินค้าเกษตรซึ่งสามารถควบคุมและสั่งการระยะไกลได้ รวมถึงการนำเสนอภาพและ เสียงจากแหล่งผลิตสู่สายตาลูกค้าในการทำการตลาด
ศูนย์เพาะเนื้อเยื่อ
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช คือ การนำเอาส่วนใดส่วนหนึ่งของพืช ไม่ว่าจะเป็นส่วนอวัยวะ หรือส่วนเนื้อเยื่อ มาเลี้ยงในอาหารวิทยาศาสตร์ที่ประกอบด้วย แร่ธาตุ น้ำตาล วิตามิน และสารควบคุม ความเจริญเติบโต ภายใต้สภาพปลอดเชื้อจุลินทรีย์และอยู่ในสภาวะควบคุมอุณหภูมิ แสง ความชื้น โดยส่วนของพืชที่นำมาเลี้ยงนี้จะสามารถ
เติบโตพัฒนาได้ หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะพัฒนาเป็นส่วนอวัยวะ เกิดเป็นกลุ่มเซลล์ที่เรียกว่า แคลลัส หรือ คัพภะ (ต้นอ่อนขนาดเล็ก) ที่เรียกว่า เอ็มบริโอ ซึ่งในที่สุดก็จะ สามารถบังคับให้ส่วนต่าง ๆ เหล่านี้เกิดเป็นต้นใหม่ที่มีรากที่สมบูรณ์สำหรับการนำไปปลูกลงดินต่อไปได้
พืชที่เกิดขึ้นมาจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จะมีลักษณะเหมือนกับพืชต้นพันธุ์ที่นำมาใช้เพาะเลี้ยงทุก ประการจึงเป็น วิธีการหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ในการ ขยายพันธุ์พืช และการเก็บรักษาและอนุรักษ์ เชื้อพันธุ์พืชต่างๆ โดยอาศัยการเก็บกลุ่มเซลล์ที่เรียกว่า แคลลัสของพืชไว้ที่อุณหภูมิเย็นจัดถึง -196 องศา เซลเซียสภายใต้ไนโตรเจนเหลว ซึ่งวิธีนี้จะสามารถเก็บพืชได้เป็นเวลานาน โดยไม่มีการกลายพันธุ์หรือ อาจใช้ในการเก็บรวบรวมพันธุ์พืชโดยบังคับให้พืชโตช้าๆ ในขวดแก้วเล็กๆ ซึ่งการอนุรักษ์พันธุ์พืชเช่นนี้ จะใช้พื้นที่น้อยกว่าการเก็บพันธุ์พืชที่ผลิตเป็นต้นพืชโดยตรง
นอกจากนี้ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ยังมีประโยชน์ต่อการแลกเปลี่ยนพันธุ์พืชกับต่างประเทศที่ สะดวกขึ้น พืชที่อยู่ในขวดสะอาดปราศจากเชื้อจุลินทรีย์และราที่จะทำอันตรายต่อพืช โดยเฉพาะการ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสมุนไพรในรูปแบบเซลล์แขวนลอย ยังช่วยในการผลิตสารต่างๆ ที่ใช้เป็นยารักษาโรค หรือสารที่ใช้เป็นยาฆ่าแมลงได้ อีกทั้งยังเป็นประโยชน์มหาศาลในการปรับปรุงพันธุ์พืชให้พืชต้านทาน โรคและแมลงได้ดีขึ้นหรือให้ผลผลิตมากขึ้น โดยอาศัยเทคนิคในการเลี้ยงต้นอ่อนขนาดเล็กเทคนิคใน การเพาะเลี้ยง อับละอองเกสรและละอองเกสรพืช หรือเทคนิคในการชักนำให้พืชกลายพันธุ์เป็นพันธุ์ใหม่ๆ โดยอาศัยสารเคมีหรือการฉายรังสี เป็นต้น
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชได้พัฒนาเพื่อใช้ ในงานขยายพันธุ์พืชอย่างกว้างขวาง ปัจจุบันมีการสร้าง ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อการค้าอย่างแพร่หลาย ในประเทศแถบทวีปยุโรป สหรัฐอเมริกา แคนาดา และญี่ปุ่น ความก้าวหน้าต่อไปในอนาคตยิ่งมีมากขึ้น ในแง่การหาวิธีที่เหมาะสมทางด้านอุตสาหกรรม การลดต้นทุนการผลิต การผลิตเป็นการค้า ซึ่งเมื่อใดที่วิทยาการด้านนี้ก้าวหน้าจนสามารถพัฒนาไปในเชิง การค้าและอุตสาหกรรมได้แล้ว ย่อมส่งผลไปสู่การสร้างพืชพันธุ์ใหม่ ๆ ตลอดจนผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ ประโยชน์ในทางปฏิบัติที่กว้างขวางยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างศูนย์เพาะพันธุ์เนื้อเยื่อที่มีก้าวหน้า ทันสมัย และใหญ่ที่สุดในโลก
2. เพื่อเป็นศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมพืชที่สมบูรณ์แบบที่สุด
3. เพื่อเป็นศูนย์เก็บรักษาพันธุ์พืชพื้นเมืองที่มีอยู่เดิม พันธุ์พืชหายาก พันธุ์พืชที่ใกล้สูญพันธุ์ พันธุ์พืช ที่มีลักษณะที่ดี พันธุ์พืชที่มีลักษณะที่ต้องการ หรือพันธุ์พืชที่แลกเปลี่ยนระหว่างประเทศได้
4. เพื่อเป็นศูนย์ผลิตต้นพืชที่มีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนต้นพันธุ์ต้นแบบได้ (DNA Cloning)
5. เพื่อเป็นศูนย์การศึกษาทางชีวเคมีและสรีรวิทยาของพืช (Biochemical and Physiology study)
6. เพื่อเป็นศูนย์การเก็บรักษาพันธุ์พืชแบบแช่แข็ง (Cryopreservation)
7. เพื่อเป็นศูนย์ศึกษาและผลิตพืชพันธุ์ต้านทาน (Resistant plant) ผลิตพืชพันธุ์ทนทาน (Tolerance plant)
8. เพื่อเป็นธุรกิจการจำหน่ายกล้าพันธุ์พืชเพาะเนื้อเยื่อที่สำคัญของโลก
เป้าหมาย
การจัดตั้งศูนย์เพาะเนื้อเยื่อพืชขนาดใหญ่
@ จังหวัดอยุธยา
@ จังหวัดยะลา
@ จังหวดเชียงใหม่
@ จังหวัดนครราชสีมา
@ จังหวัดเพชรบูรณ์
@ จังหวัดแพร่
@ จังหวัดสกลนคร
@ จังหวัดชลบุรี
@ จังหวัดชุมพร
@ จังหวัดนครศรีธรรมราช
ประโยชน์จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
-
ทำให้สามารถเพิ่มจำนวนต้นพันธุ์พืชที่ต้องการ ในปริมาณอันมากในเวลาอันรวดเร็วได้
-
ทำให้สามารถผลิตต้นพืช ที่มีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนต้นที่เป็นต้นแบบได้
-
ทำให้สามารถผลิตต้นพืชจำนวนหลายๆ ต้น ที่มีขนาดสม่ำเสมอกันได้
-
ทำให้สามารถผลิตต้นพืชที่ปราศจากโรคได้
-
ทำให้สามารถเก็บรักษาพันธุ์พืชพื้นเมืองที่มีอยู่เดิม พันธุ์พืชหายาก พันธุ์พืชที่ใกล้สูญพันธุ์ พันธุ์พืช ที่มีลักษณะที่ดี พันธุ์พืชที่มีลักษณะที่ต้องการ หรือพันธุ์พืชที่แลกเปลี่ยนระหว่างประเทศได้
-
ทำให้สามารถใช้ปรับปรุงพันธุ์พืชได้ เพื่อการผลิตพืชพันธุ์ต้านทาน (resistant plant) สามารถที่จะ ชักนำให้เกิดความต้านทานขึ้นในต้นพืช โดยการเพาะเลี้ยงในอาหารที่มีเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น การสร้าง พันธุ์ต้านทานต่อสารพิษของโรค ต้านทานต่อแมลง หรือต้านทานต่อยากำจัดวัชพืช เป็นต้น หรือเพื่อการผลิตพืชพันธุ์ทนทาน (tolerance plant) ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสามารถที่จะคัด สายพันธุ์ทนทานได้จากการจัดเงื่อนไขของอาหารและสภาวะแวดล้อม เช่น การคัดเลือกสายพันธุ์ พืชทนเค็มจากการเลี้ยงเนื้อเยื่อในอาหารที่มีส่วนผสมของเกลือ การคัดเลือกสายพันธุ์ทนต่อดิน เปรี้ยว จากการเลี้ยงในอาหารที่มีสภาพเป็นกรด การคัดสายพันธุ์ที่ทนร้อนโดยการเพาะเลี้ยงใน สภาพที่มีอุณหภูมิสูง เป็นต้น
-
ทำให้สามารถผลิตยาหรือสารเคมีที่ได้จากพืชได้ และผลิตสารทุติยภูมิ (Secondary metabolite) (การสังเคราะห์สารที่ต้องการได้ปริมาณมากขึ้น)
-
สามารถใช้ประโยชน์เพื่อการสกัดสารจากต้นพืช เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆได้
-
ทำให้สามารถผลิตพืชที่มีโครโมโซม (Chromosome) หลายชุด (Polyploids) ได้ โครโมโซม (Chromosome) เป็นที่อยู่ของสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ (DNA) รวมถึงหน่วย พันธุกรรม หรือยีน(gene) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมและถ่ายทอดข้อมูล เกี่ยวกับ ลักษณะทาง พันธุกรรมต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต
-
ทำให้สามารถผลิตพันธุ์พืช ที่มีความต้านทานหรือทนทานได้ เช่น พันธุ์พืชที่ทนต่อดินเค็ม หรือ ดินเปรี้ยว, พันธุ์พืชที่ทนต่อสภาพอากาศร้อนหรือหนาว, พันธุ์พืชที่ทนต่อสารเคมีกำจัดศัตรูพืช, พันธุ์พืชที่ทนต่อโรคต่างๆและสารพิษต่างๆที่เกิดจากพวก เชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส
-
ทำให้สามารถผลิตโปรโตพลาส(Protoplasts)ได้ (โพรโทพลาสต์ของพืช คือ เซลล์พืช ที่ ไม่มีผนังเซลล์ (naked plant cell) แต่มีเพียงส่วนเยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) ล้อมรอบองค์ประกอบภายในเซลล์เอาไว้)
-
ทำให้สามารถผลิตพืชที่มีโครโมโซม (Chromosome) หลายชุด (Polyploids) ได้ โครโมโซม (Chromosome) เป็นที่อยู่ของสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ (DNA) รวมถึงหน่วย พันธุกรรม หรือยีน(gene) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมและถ่ายทอดข้อมูล เกี่ยวกับ ลักษณะทาง พันธุกรรมต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต
แนวคิดในการสร้างศูนย์เพาะเนื้อเยื่อขนาดใหญ่และทันสมัยที่สุดในโลก
ในการออกแบบศูนย์เพาะเนื้อเยื่อที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในโลก จะต้องนำเทคโนโลยีที่ดีที่สุด ที่มีในปัจจุบัน และนำนวัตกรรม งานวิจัย งานทดลอง งานต้นแบบต่างๆ จากนักคิด หน่วยงาน องค์กร สถาบันต่างๆ นำมาบูรณาการ พัฒนาให้มีรูปแบบตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
ดังนั้น ศูนย์เพาะเนื้อเยื่อโลกแห่งนี้ จึงเป็นการออกแบบและสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก เป็นการ รวบรวมแนวคิด จินตนาการจากหลากหลายแหล่ง ซึ่งในการดำเนินการให้เกิดขึ้นได้นั้น ต้องอาศัยเงินทุน จำนวนมาก รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญ (ที่สุด) ในแต่ละด้านเข้ามาช่วยกัน
แนวทางในการสร้างศูนย์เพาะเนื้อเยื่อโลกแห่งนี้ ได้ศึกษารูปแบบการจัดสร้าง และการดำเนินการ ของศูนย์เพาะเนื้อเยื่อขนาดใหญ่ของโลกหลายแห่ง นำมาออกแบบใหม่ให้มีความสมบูรณ์แบบที่สุด โดยใน การจัดสร้างศูนย์เพาะเนื้อเยื่อโลกนี้ เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่ดีที่สุด ที่มีอยู่ในปัจจุบัน จะนำมาใช้ในศูนย์ฯ รวมถึงการจัดสร้าง จัดทำขึ้นใหม่ ตามวัตถุประสงค์การใช้งาน รวมถึงการออกแบบ ระบบต่างๆ ขี้นมาใหม่ให้ก้าวหน้าและทันสมัยที่สุด
ระบบสำคัญในศูนย์เพาะเนื้อเยื่อโลก
1. อาคารอัจฉริยะและห้องคลีนรูม
2. ระบบควบคุมสภาวะแวดล้อม
3. ระบบท่อลมขนส่ง
ระบบท่อลมขนส่งคือระบบขนส่งเอกสารและวัสดุด้วยแรงลม โดยส่งผ่านไปตามท่อส่งซึ่งติดตั้ง เป็นเครือข่ายเชื่อมโยงจุดรับ-ส่งเข้าไว้ด้วยกัน โดยใช้กระสวยเป็นตัวกลางในการขนส่งซึ่งมีให้เลือกหลาย ขนาดแล้วแต่ลักษณะการใช้งานซึ่งแตกต่างกันไป เหมาะสำหรับการขนส่งวัสดุขนาดเล็กที่ต้องการความ เร่งด่วน ซึ่งจะทำให้ช่วยประหยัดเวลา รวดเร็ว ปลอดภัย
การทำงานของระบบท่อลม
การขนส่งในระบบท่อลม อาศัยชุดเครื่องกำเนิดลมเป็นต้นกำลังในการเป่า หรือดูดในระบบท่อลม และมีไดเวอร์เตอร์เป็นอุปกรณ์ช่วยในการส่งกระสวยไปยังเส้นทางที่แตกต่างกันในระบบ โดยไม่มีข้อจำกัด ด้านระยะทางหรือความสูง ผู้ใช้เพียงแต่บรรจุวัสดุหรือเอกสารลงในภาชนะบรรจุรูปทรงกระบอก (กระสวย – CARRIER) ที่ออกแบบมาเฉพาะ แล้วใส่กระสวยดังกล่าวลงในท่อส่งที่สถานีส่ง กดรหัสสถานีปลายทาง ระบบก็จะทำการส่งวัสดุไปตามท่อส่งด้วยความรวดเร็ว จนเสร็จสิ้นกระบวนการ และด้วยการควบคุมจาก หน่วย ควบคุมส่วนกลางของระบบ จะทำให้มั่นใจได้ว่าวัสดุที่ส่งผ่านระบบท่อลมนั้นจะถึงมีผู้รับได้อย่าง ถูกต้อง ปลอดภัย
4. ระบบการทำงานด้วยหุ่นยนต์ (Robotics and Servo Systems)
5. ระบบตรวจสอบ (Mornitoring System)
– อุปกรณ์กล้องวงจรปิก
– เซ็นเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิ ความชื้น
– เซ็นเซอร์ตรวจวัดแสง
– เซ็นเซอร์ตรวจจับการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อ
– เซ็นเซอร์ตรวจสอบ ตรวจจับ ตรวจวัด อื่นๆ
– ชุดอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล
6. ระบบจัดเก็บข้อมูลและสั่งการระยะไกล (SCADA)
ศูนย์ควบคุมระบบ SCADA (Supervisory Control And Data Acquisition System) หมายถึง “ระบบควบคุมแบบรวมจุดศูนย์กลาง” โดยระบบจะรวบรวมข้อมูล (Collection of information) จาก Field Instrument หรือ Controller ต่างๆจากหลายพื้นที่ภายในศูนย์เพาะเนื้อเยื่อ ข้อมูลที่หลากหลายถูกส่งขึ้น มาที่ระบบประมวลผลหลัก (Transferring data to central site) จากนั้นจึงทำการวิเคราะห์และประมวลผล (Analyze for data processing) โดยคอมพิวเตอร์เพื่อผลประโยชน์ทางด้านการเก็บข้อมูลในฐานข้อมูล และการนำข้อมูลไปใช้งานตามต้องการ รวมถึงการควบคุมและสั่งการจากศูนย์กลาง
7. ระบบควบคุมสั่งการอัจฉริยะ (Artificial Intelligence System)
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือ เอไอ (AI) หมายถึงความฉลาดเทียมที่ สร้างขึ้นให้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิต เพื่อใช้ในการสั่งการระบบทั้งหมดในศูนย์เพาะเนื้อเยื่อ รวมถึงระบบปรับอากาศ ความชื้น ระบบไฟฟ้า ระบบน้ำสะอาด
ศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุ์พืช
ศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุ์พืช เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่เก็บรวบรวมพันธุกรรมพืชชนิดต่างๆ ทุก ภูมิภาคของประเทศไทย เพื่อรักษาพันธุ์ไม่ให้สูญหาย ทั้งพันธุ์ดั้งเดิม และพันธุ์ลูกผสม รวมทั้งมีการศึกษา ลักษณะพันธุ์ บันทึกข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับพันธุ์นั้นๆ การขยายพันธุ์ และเก็บรักษาไว้ในรูปเมล็ดเซลล์เนื้อเยื่อ ในห้องควบคุมอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสม รวมทั้งจัดทำแปลงรวบรวมพันธุ์พืชต่างๆ เพื่อเป็นแหล่ง เรียนรู้ วิจัยพัฒนาและรักษาต้นพันธุ์ มีการประเมินลักษณะที่ดี หรือลักษณะที่สำคัญทางเศรษฐกิจ ของ เชื้อพันธุกรรมพืช เพื่อใช้ประโยชน์ของเชื้อพันธุกรรมพืชนั้นๆที่มีอยู่ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีการคัดเลือก และปรับปรุงพันธุ์พืช ให้ใช้ประโยชน์ได้ทั้งในการวิจัยต่อยอดและการใช้ประโยชน์โดยเกษตรกร มีการ ศึกษาวิจัยระบบการผลิตพืชที่เหมาะสมและปลอดภัยต่อผู้บริโภค รวมทั้งวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพดี
ศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุ์สัตว์
ศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุ์สัตว์ เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่เก็บรวบรวมพันธุกรรมสัตว์ชนิดต่างๆ ทุก ภูมิภาคของประเทศไทย เพื่อรักษาพันธุ์ไม่ให้สูญหาย ทั้งพันธุ์ดั้งเดิม และพันธุ์ลูกผสม รวมทั้งมี การศึกษาลักษณะพันธุ์ บันทึกข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับพันธุ์นั้นๆ การขยายพันธุ์ และเก็บรักษาไว้ในรูปน้ำเชื้อ ไข่และตัวอ่อน (Embryo) ในห้องควบคุมอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสม รวมทั้งตั้งสถานีพ่อแม่พันธุ์ สายพันธุ์ต่างๆ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ วิจัยพัฒนาและรักษาพ่อแม่พันธุ์ มีการประเมินลักษณะที่ดีหรือ ลักษณะที่สำคัญทางเศรษฐกิจของเชื้อพันธุกรรมสัตว์ เพื่อใช้ประโยชน์ของเชื้อพันธุกรรมสัตว์นั้นๆที่มีอยู่ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์สัตว์ให้ใช้ประโยชน์ ได้ทั้งในการวิจัยต่อยอดและ การใช้ประโยชน์โดยเกษตรกร มีการศึกษาวิจัยระบบการผลิตสัตว์ที่เหมาะสมและปลอดภัยต่อผู้บริโภค รวมทั้งวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพันธุ์สัตว์ที่มีคุณภาพดี
ศูนย์อาหารพืช
ด้วยผลพวงจากการปฏิวัติเขียว (The Green Revolution) ซึ่งเกิดขึ้นในช่วง ค.ศ. 1960 (พ.ศ. 2503) มีการนำเทคโนโลยีการผลิตที่ให้ผลผลิตสูง การใช้สารเคมีชนิดต่างๆ เป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ และการใช้ เครื่องจักรกลการเกษตร เป็นต้น ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในด้านอื่นๆ เช่น ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม ตลอดจนสุขภาพอนามัย และระบบนิเวศวิทยาของโลก
จุดเด่นของการปฏิวัติเขียวอยู่ที่การนำเอาความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มาเพิ่ม ประสิทธิภาพผลผลิตสินค้าเกษตรอย่างได้ผลชัดเจน อย่างเช่น การเพิ่มผลผลิตต่อไร่ของพันธุ์ข้าว เป็นต้น แต่จุดอ่อนคือละเลยต่อผลกระทบด้านอื่น ๆ เช่น สังคมและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะผลกระทบต่อระบบนิเวศ วิทยาซึ่งมีความละเอียดอ่อนและซับซ้อนเป็นอย่างยิ่ง
ในที่สุดระบบการเกษตรในแนวทาง “ปฏิวัติเขียว” ก็กลายเป็นนโยบายหลักของแทบทุกประเทศ และประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะเกษตรกรต่างถูกชักจูงให้ยอมรับระบบการเกษตรดัง กล่าวด้วยวิธี การต่างๆ รวมทั้งผ่านระบบการศึกษาและสื่อสารมวลชลนานาชนิด จนกระทั่งกลายเป็นกระแสหลัก ของระบบการเกษตรในปัจจุบัน
ผลพวงของการปฏิวัติเขียวทำให้ประเทศไทย ได้เข้าสู่ยุค “เกษตรกรรมแผนใหม่” คือการใช้สารเคมี สังเคราะห์ต่างๆ ทางการเกษตร และได้ใช้อย่างต่อเนื่องยาวนาน ก่อให้ เกิดปัญหา ต่างๆ คือ
1. ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ระบบนิเวศวิทยาสูญเสีย เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม และความเสื่อมโทรมของทรัพยากร ธรรมชาติ ที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ ปัญหาการพังทลายของหน้าดิน ดินได้สูญเสียความสมดุล ขาดความอุดมสมบูรณ์ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน ได้สูญหายไปจากธรรมชาติ ปัญหามลพิษในสิ่งแวดล้อมและปัญหาการระบาด ของโรคและแมลง
การใช้ปุ๋ยเคมีเป็นจำนวนมากและใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจะทำให้เกิดปัญหาความเสื่อมโทรม ของโครงสร้างดิน และดินขาดความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากการใช้ปุ๋ยเคมีไม่ใช่การบำรุงดิน แต่เป็นการอัด แร่ธาตุอาหารให้แก่พืช โดยไม่มีการเติมอินทรียวัตถุเพิ่มลงในดิน และการใช้ปุ๋ยเคมียังเร่งอัตราการสลายตัว ของอินทรียวัตถุในดิน ทำให้โครงสร้างของดินเสื่อมลง ดินจึงกระด้างมีการอัดตัวแน่น ไม่อุ้มน้ำในฤดูแล้ง การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทำให้เกิดปัญหาสารพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เนื่องจากการ ใช้สารเคมี ในการกำจัดศัตรูพืชในแต่ละครั้งจะใช้ประโยชน์ได้เพียง 25% ที่เหลืออีก 75% จะกระจายสะสมในดิน น้ำ และอากาศในสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญคือคือ สารเคมีกำจัดศัตรูพืชไม่ได้ทำลายเฉพาะศัตรูพืชเท่านั้น แต่ยังทำลาย แมลงและจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในธรรมชาติอีกด้วย ซึ่งเป็นการทำลายความสมดุลของระบบนิเวศใน ธรรมชาติและผลที่ตามมาคือ การระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืชที่รุ่นแรงมากขึ้น
2. ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ
การทำเกษตรแผนใหม่ เป็นการทำการเกษตรที่ต้องพึ่งปัจจัยภายนอก เพื่อนำมาเพิ่มผลผลิตให้ได้ เป็นจำนวนมาก แต่ก็มิได้หมายความว่าเกษตรกรจะประสบความสำเร็จทางเศรษฐกิจเสมอไป ในทางตรง กันข้าม กลับพบว่าเกษตรกรที่ทำการเกษตรแผนใหม่จำนวนมากประสบปัญหาภาวะขาดทุนและมี หนี้สิน เกิดความล้มเหลวทางเศรษฐกิจ เนื่องมาจากต้นทุนการผลิตที่สูงและราคาผลผลิตที่ตกต่ำ
ในประเทศไทยการพัฒนาการเกษตรแผนใหม่ กลับเป็นการผลักดันให้เกษตรกรต้องตกอยู่ภายใต้การครอบงำ ของบริษัทฯ เนื่องจากต้องพึ่งพาปัจจัยการผลิต และเทคโนโลยีต่างๆ จากบริษัทฯ ไม่ว่าจะเป็น เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย หรือสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เป็นการทำการเกษตรที่ถูกผูกขาดจากบริษัทขนาดใหญ่ ดังนั้นจะ เห็นได้ว่าการทำเกษตรแผนใหม่เป็นการสร้างรายได้ให้แก่บริษัทเอกชนขนาดใหญ่มากกว่าเกษตรกรที่แท้จริง
3. ผลกระทบต่อ สุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภค
การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช นอกจากจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังก่อให้เกิดปัญหาการ ได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกายของเกษตรกรผู้ใช้ และยังมีสารพิษตกค้างในผลผลิตทางการเกษตรอีกด้วย การใช้ สารเคมีทางการเกษตรนานๆจนทำให้พืชผักมีพิษตกค้างจำนวนมาก ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพของผู้ บริโภค
จากการตรวจพบสารพิษตกค้าง ในผลผลิตทางการเกษตรของประเทศไทย พบว่า ผลผลิตมีสารพิษ ตกค้างอยู่สูงจนในผลผลิตบางชนิดไม่ผ่านมาตรฐานมีผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรของไทย นอก จากนี้การที่คนไทยบริโภคผลผลิตที่มีสารพิษตกค้างอยู่ทำให้มีการสะสมสารพิษในร่างกายเป็นระยะเวลานาน และเกิดการเจ็บป่วย เช่น โรคภูมิแพ้ โรคเครียด โรคมะเร็ง ฯลฯ โดยเฉพาะโรคมะเร็ง ซึ่งจะเห็นได้จากสถิติคนไทยที่ป่ายเป็นโรคมะเร็งมีจำนวนมากขึ้นทุกปี
4. ผลกระทบต่อวิถีชีวิตและภูมิปัญญาท้องถิ่น
เกษตรกรรมแผนใหม่ ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตของเกษตรกรไทย ทำลายฐานการ เกษตรแบบยังชีพของเกษตรกร ทำลายระบบสังคมของชุมชน และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความคิดที่มีต่อ ภูมิปัญญาพื้นบ้านของไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่นถูกละเลย ด้วยเข้าใจว่าเป็นความเชื่อ หรือวิธีการปฏิบัติที่ไม่ทันสมัย ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ และไม่มีประสิทธิภาพ โดยลืมไปว่าความรู้และภูมิปัญญาที่ถูกถ่ายทอดต่อๆ กันมาได้มาจากประสบการณ์ของคนรุ่นก่อนมานานหลายรุ่น ที่อยู่ในพื้นที่ท้องถิ่นที่พวกเขาอาศัยอยู่ ซึ่งความคิดนี้ได้รุนแรงมากขึ้นเมื่อเริ่มเข้าสู่ยุคปฏิวัติเขียว ความรู้และแนวทางการพัฒนา การเกษตร จะถูกรวมไปอยู่ในสถาบันการเกษตรต่างๆของรัฐ และบริษัทธุรกิจการเกษตรขนาดใหญ่ การพัฒนาและ แก้ไขปัญหาของเกษตรกรกลายเป็นบทบาทของผู้เชี่ยวชาญทางการเกษตร จากหน่วยงานของรัฐหรือบริษัท การเกษตรที่เข้าไปเปลี่ยนแปลง ความคิดและวิถีชีวิตของการทำการเกษตร โดยที่เกษตรกรกลาย เป็นเพียง ผู้รับเท่านั้นเอง ซึ่งหากองค์ความรู้ที่ได้รับนั้นไม่ถูกต้อง ผู้ที่ได้รับความเสียหายคือตัวของเกษตรกรเอง
โครงการปุ๋ยธรรมชาติคุณภาพสูงนวัตกรรมไบโอเทคโนโลยี
โครงการปุ๋ยธรรมชาติ (Natural Fertilizer) ได้นำนวัตกรรมใหม่ด้านไบโอเทคโนโลยี มาผสมผสาน กับฮิวมัส และอินทรีย์วัตถุจากธรรมชาติ 100 เปอร์เซ็นต์ เพื่อผลิตปุ๋ยธรรมชาติคุณภาพสูงนำไปปรับปรุง สภาพดินเสื่อมโทรม ดินที่ขาดชีวิตให้ ฟื้นคืนชีวิต ให้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดินกลับมาทำงานได้ตาม ธรรมชาติ เป็นการฟื้นฟูและสร้างความสมดุลคืนให้ผืนดินและระบบนิเวศวิทยา ซึ่งจะส่งผลให้พืชมีความ แข็งแรง ทนทานต่อโรคและแมลง ทนทานต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง และที่สำคัญจะได้ผลผลิตทางการเกษตรทั้ง ผัก ผลไม้ ที่มีคุณค่าทางอาหารสูงและปลอดภัย
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างศูนย์ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่มีความทันสมัย มีขนาดใหญ่ และกำลังการผลิตมากที่สุดในประเทศ
2. เพื่อเป็นศูนย์วิจัยและพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์ที่สมบูรณ์แบบที่สุด
3. เพื่อเป็นแหล่งอาหารพืชในการส่งเสริมเกษตรกรของโครงการ
4. เพื่อนำทรัพยากรของชาติ (ฮิวมัส) มาพัฒนาปรับปรุงนำไปใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด
5. เพื่อให้เกษตรกรและผู้บริโภคมีสุขภาพดี จากการลดและยกเลิกการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีอันตรายต่างๆ
6. เพื่อให้พืชผัก ผลไม้ มีความปลอดภัย มีคุณค่าสูงตามลักษณะพันธุกรรมที่แท้จริงของพืช
เป้าหมาย
1. การจัดตั้งศูนย์การผลิตปุ๋ยธรรมชาติคุณภาพสูงนวัตกรรมไบโอเทคโนโลยี
– อยุธยา 1 ศูนย์
– ยะลา 1 ศูนย์
– เชียงใหม่ 1 ศูนย์
– นครราชสีมา 1 ศูนย์
– สกลนคร 1 ศูนย์
– พะเยา 1 ศูนย์
2. การจัดตั้งศูนย์การขุดฮิวมัสในนครราชสีมา 1 ศูนย์
3. ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพ กำลังการผลิต 40,000,000 กระสอบต่อปี
4. ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดกำลังการผลิต 40,000,000 กระสอบต่อปี
5. ปุ๋ยน้ำชีวภาพกำลังการผลิต 40,000,000 ลิตรต่อปี
รายละเอียดโครงการ
จัดหาแหล่งวัตถุดิบสำคัญคือ เหมืองฮิวมัสและซิลิคอน ที่จังหวัดพะเยา จากการสำรวจทางธรณี วิทยา ปริมาณแร่ฮิวมัสมีอยู่ประมาณ 6,800,000 เมตริกตัน และทรายซิลิคอนประมาณ 12,000,000 เมตริกตัน
โครงการกำหนดพื้นที่ตั้งศูนย์ปุ๋ยอินทรีย์ไว้ 5 แห่ง เพื่อให้ครอบคลุมเกษตรกรจำนวน 14,000,000 รายทั่วประเทศ โดยมีการกำหนดศูนย์ฯ คือ สกลนคร, ยะลา, เชียงใหม่, นครราชสีมา และพระนครศรีอยุธยา โดยมีเหมืองแร่และโรงงานแต่งแร่ ที่จังหวัดพะเยา สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่จังหวัดเพชรบูรณ์
แผนการจัดตั้งศูนย์ปุ๋ยอินทรีย์
1. สำนักงานใหญ่และศูนย์ปุ๋ยอินทรีย์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
2. ศูนย์ปุ๋ยอินทรีย์ จังหวัดยะลา
3. ศูนย์ปุ๋ยอินทรีย์ จังหวัดเชียงใหม่
4. ศูนย์ปุ๋ยอินทรีย์ จังหวัดนครราชสีมา
5. ศูนย์ปุ๋ยอินทรีย์ จังหวัดสกลนคร
6. เหมืองฮิวมัส จังหวัดพะเยา
ศูนย์อาหารสัตว์
ปัจจุบันการเลี้ยงสัตว์ ได้ปรับรูปแบบจากการเลี้ยงแบบครัวเรือนมาเป็น การเลี้ยงเชิงพาณิชย์นิยม ใช้อาหารสัตว์สำเร็จรูปมากขึ้น เนื่องจากสะดวกและให้ผลคุ้มค่า ดังนั้นความต้องการอาหารสัตว์สำเร็จรูป จึงมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้อุตสาหกรรม การผลิตอาหารสัตว์สำเร็จรูป ในประเทศขยายตัวเพิ่มมาก ขึ้นเป็นลำดับ การผลิตอาหารสัตว์สำเร็จรูป ส่วนใหญ่ ใช้วัตถุดิบที่ผลิตได้เอง ในประเทศเป็นส่วนผสม เช่น รำข้าว ปลายข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มันสำปะหลัง ปลาป่น กากถั่วเหลือง และอื่นๆเป็นต้น ทั้งนี้อาจผสมวิตามิน เกลือแร่ต่างๆ เขาไปด้วยก็ได้ ปัจจุบันประเทศไทย ผลิตอาหารสัตว์สำเร็จรูปได้ ประมาณปี ละ 3,000,000 ตัน เกือบทั้งหมด ที่ผลิตได้ นำมาใช้เลี้ยงสัตว์ในประเทศ
อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ ในปัจจุบันนี้ได้มีการนำสัตว์ ที่มีศักยภาพทางพันธุกรรมสูง เข้ามาเลี้ยง ในฟาร์ม มีระบบป้องกันรักษาสุขอนามัยที่ดี มีการใช้ยาปฏิชีวนะและสารเคมี ที่เติมลงในอาหารสัตว์เพื่อ ทำให้สัตว์สามารถให้ผลผลิตที่มีประสิทธิภาพสูงสุด แต่ผลของการใช้ยาและสารเคมีนี้ ทำให้เกิดปัญหาสาร ตกค้างในเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ผู้บริโภคจึงเรียกร้องให้ลดการใช้ยาปฏิชีวนะ และสารเคมีต่างๆลง ตลอดจนเกิดปัญหาการกีดกันทางการค้าที่ต่างประเทศ ตั้งข้อกำหนดให้ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ ที่ส่งออกจาก ประเทศไทย เช่น เนื้อไก่และเนื้อกุ้ง ต้องไม่มีสารเคมีและยาปฏิชีวนะตกค้าง ดังนั้น จึงมีการหาแนวทาง ใหม่ๆที่ทำให้สัตว์สามารถเจริญเติบโตได้ดี และมีประสิทธิภาพ ในการเจริญเติบโตสูงสุดเท่าเดิม และไม่ ก่อให้เกิดสารตกค้างในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ หนึ่งในแนวทางนั้นคือการใช้ผลิตภัณฑ์ จากธรรมชาติ (natural animal products) และการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ โดยการใช้เทคโนโลยีชีวภาพนี้ จะช่วยในการปรับปรุงพันธุ์ ช่วยในการเร่งการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ ช่วยเพิ่มการย่อยโภชนะ ในอาหาร เพื่อลดปริมาณโภชนะที่ย่อยไม่ได้ให้น้อยลง เป็นการลดมลภาวะในสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
การเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างรวดเร็ว ทำให้ภาคอุตสาหกรรมเกิดการ ขยายตัวภาคเกษตรกรรมและปศุสัตว์ จึงต้องพัฒนาควบคู่กันไปด้วยการพัฒนาการปศุสัตว์ โดยสนับสนุน การส่งออกเพื่อทดแทนการนำเข้าสินค้าเป็นวิธีการที่ช่วยพัฒนาภาคเกษตรกรรมทางหนึ่ง อาหารสัตว์จึงเป็น ปัจจัยสำคัญที่มีส่วนช่วยพัฒนาการปศุสัตว์ โดยการพัฒนาให้สามารถแข่งขันกับตลาดในต่างประเทศได้คือ การลดต้นทุนการผลิต ซึ่งอาหารสัตว์เป็นต้นทุนที่สูงถึงร้อยละ 60-70 ของต้นทุนทั้งหมด ส่งผลถึง อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ที่จะต้องพัฒนาทางด้านการผลิตให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน นอกจากนี้ในการพัฒนา อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ให้เข้าสู่ระบบสากล จึงต้องดำเนินการตามมาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practice) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่เน้นการป้องกันและขจัดความเสี่ยงที่อาจจะทำให้อาหารเป็นพิษ เป็นอันตราย หรือเกิดความไม่ปลอดภัยแก่ผู้บริโภคและเป็นระบบประกัน
คุณภาพพื้นฐานที่จะพัฒนาไปสู่ระบบประกัน คุณภาพอื่นๆต่อไป ประเภทของโรงงานในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์สามารถจำแนกได้ 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ โรงงานที่ผลิตวัตถุดิบอาหารสัตว์ และโรงงานผลิตอาหารสัตว์แปรรูป
ในศูนย์การอาหารสัตว์ที่ทางเราจัด สร้างขึ้นนี้ เป็นการค้นคว้าวิจัยด้านไบโอเทคโลยีชั้นสูง(Biotechnology) มาใช้ทดแทนสารปฏิชีวนะ (Antibiotic) ซึ่งเรียกว่าสารเสริมชีวนะ (Probiotics) และอาหารเสริมชีวนะ (Prebiotics) เนื่องจาก มีความปลอดภัยในการใช้สูง และสามารถยับยั้งเชื้อก่อโรค การเพิ่มภูมิต้านทาน เพิ่มความสามารถในการ ย่อยและดูดซึมสารอาหาร ส่งผลต่ออัตราการเจริญ อัตราการแลกเปลี่ยนอาหาร คุณภาพและปริมาณผลผลิต ที่ได้ รวมทั้งการลดลงของปริมาณคลอเลสเตอรอลอีกด้วย กลไกของโปรไบโอติกร่วมในกระบวนการการ ปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้จาก การส่งเสริมการเจริญของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และยับยั้งการเจริญ ของจุลินทรีย์ก่อโรค ซึ่งตรงข้ามกับสารปฏิชีวนะที่ยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ทั้งสองประเภทด้วยหลักการ ทำงานของโปรไบโอติกดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความจำเป็น ของการรอดชีวิตของโปรไบโอติกจากกระ บวนการผลิตอาหารสัตว์เม็ด ซึ่งจัดเป็นประเภทอาหารที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการเจริญของสัตว์ เนื่องจากการผลิตอาหารเม็ดต้องใช้ความร้อนสูงในขั้นตอนการคลุกไอน้ำ (conditioning) และการอัดเม็ด (pelleting)
ศูนย์สร้างผลผลิตทางการเกษตรจากพืช ภายใต้การควบคุมสภาวะแวดล้อม และ ศูนย์สร้างผลผลิตทางการเกษตรจากปศุสัตว์ภายใต้การควบคุมสภาวะแวดล้อม
แผนงาน “ศูนย์สร้างผลผลิตทางการเกษตร ภายใต้การควบคุมสภาวะแวดล้อม” ออกแบบมาตาม แนวคิดการจัดการด้านอาหารสำหรับคนไทยทุกคน จะต้องรับประทานอาหารที่มีคุณภาพสูงเป็นธัญโอสถ ไม่มีสารพิษ สารตกค้าง ที่ก่อให้เกิดโรคภัยต่างๆ
“ศูนย์สร้างผลผลิตทางการเกษตรภายใต้การควบคุมสภาวะแวดล้อม” ได้นำนวัตกรรมและ เทคโนโลยีแห่งอนาคตมาใช้ในการจัดสภาวะแวดล้อมเสมือนธรรมชาติในพื้นที่ควบคุม ทำให้สามารถ กำหนดบังคับ การสร้างผลผลิตการเกษตรได้อย่างที่ต้องการ
ศูนย์จัดการผลผลิตทางการเกษตร
วัตถุดิบสด
เป็นหน่วยงานที่เก็บรวบรวมผลผลิตการเกษตร จากฟาร์มสมาชิกโครงการ เข้ามายังศูนย์การจัด จำหน่าย ทั้ง 77 ศูนย์ (จังหวัด) และศูนย์การแปรรูป ในเมืองอุตสาหกรรมเกษตร แต่ละเขตพื้นที่ทั้ง 10 ศูนย์ (จังหวัด)
การแปรรูป
เป็นหน่วยโรงงานแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ของโครงการทั้ง 77 ศูนย์ (จังหวัด) ซึ่งแยกโรงงานแปรรูปตามผลผลิตที่ศูนย์เมืองอุตสาหกรรมเกษตร (Agro Industry Town) ทั้ง 77 ศูนย์ (จังหวัด) นั้นๆ
– โรงงานผลิตถ่าน ถ่านกัมมันต์เชื้อเพลิงไม้อัดเม็ด
– โรงสีข้าว
– โรงปุ๋ยอินทรีย์
– ปุ๋ยอินทรีย์น้ำสำหรับพืช
– การผลิตทางการเกษตร
โรงงานน้ำตาลออร์แกนิค (อินทรีย์) จากอ้อย (Sugar Cane)
โรงงานน้ำตาลออร์แกนิคภายใต้เครือข่าย
บริษัทนิว อีร่า สกาย ยูไนเต็ด เอ็มไพร์ จำกัด (NSUE)
กลุ่มน้ำตาลออร์แกนิค (NSUE) ได้เริ่มธุรกิจในปี 2564 โดยก่อตั้งบริษัท น้ำตาลออร์แกนิค เอซีดี จำกัด ที่ตำบลวังสามหมอ อ.วังสามหมอ จ.อุดรธานี นับเป็นจุดเริ่มต้น ของกลุ่มน้ำตาลออร์แกนิค (NSUE) ในการทำธุรกิจน้ำตาล โดยมีความมุ่งหวังที่จะเป็นผู้ผลิตน้ำตาลทรายรายใหญ่ของประเทศ ผลิตน้ำตาลทรายดิบ น้ำตาลทรายขาวน้ำตาลธรรมชาติ (น้ำตาลกรวด) บริสุทธิ์ น้ำตาลคาราเมล (Organic Syrup) และ น้ำตาลทรายแดง เพื่อจำหน่าย ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ มีกำลังการหีบอ้อย รวมประมาณ 500,000 ตันอ้อยต่อวัน หรือ 60,000,000 ตัน ต่อปี โดยทั่วไปแล้ว อ้อยสด 1 ตัน โรงงานจะทำน้ำตาล ได้ประมาณ 100 – 120 กิโลกรัม จะได้กากอ้อยที่มีความชื้น 50% ออกมาประมาณ 250 – 300 กิโลกรัม กากน้ำตาล( Mollas) ประมาณ 50 – 60 กิโลกรัม และได้กากตะกอนประมาณ 30 – 40 กิโลกรัม)
กลุ่มน้ำตาลออร์แกนิค (NSUE) วางเป้าหมายไว้ในการที่จะเป็นผู้ผลิตน้ำตาลที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำตาลออร์แกนิคของประเทศ โดยผลิตน้ำตาลทรายดิบ น้ำตาลทรายขาว น้ำตาลธรรมชาติ(น้ำตาลกรวด)บริสุทธิ์ น้ำตาลคาราเมล(Liquid Glucose) และ น้ำตาลทรายแดง น้ำตาลเสริมแคลเซียม ที่มีคุณภาพ ภายใต้ เครื่องหมายการค้า “NSUE” กลุ่มน้ำตาล (NSUE) มีนโยบายในการผลิตน้ำตาลให้ใกล้ชิดกับธรรมชาติมากที่สุด เริ่มตั้งแต่การปรับปรุงดินด้วยกระบวนการชีวะอินทรีย์ (Soil Additive Biotechnology) เพื่อการปลูกอ้อย จะส่งเสริมให้เกษตรกร ใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนปุ๋ยเคมี และผ่านกระบวนการผลิตที่ปลอดภัยได้มาตรฐาน ดีต่อผู้สุขภาพ
ผู้บริโภค เพราะกลุ่มน้ำตาลออร์แกนิค (NSUE)ตระหนักถึงสุขภาพของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย สุขภาพของบริโภค สัตว์ และสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยเป็นอันดับหนึ่ง ภายใต้แนวคิด Health and Environment Concern (HEC)
กลุ่มน้ำตาลออร์แกนิค (NSUE) ให้ความสำคัญกับการจัดการการปลูกอ้อยอย่างเป็นระบบ จึงได้นำเทคโนโลยีกำหนดพิกัดด้วยดาวเทียม (Global Positioning System/GPS) และระบบสารสนเทศ ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Information System/GIS) มาใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงเพื่อให้ได้ผลผลิตอ้อยอย่างเต็มที่ และเป็นระบบมากขึ้น โดยเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยสามารถปลูกและเก็บเกี่ยวได้ตามกำหนด และป้อนให้กับโรงงานได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ กลุ่มน้ำตาลออร์แกนิค (NSUE) เป็นผู้ผลิตน้ำตาลที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำตาลของประเทศ โรงงานทุกโรงงานยังเป็นผู้ผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานสะอาดใช้เองในระบบ และยังทำการบริหารจัดการกากอ้อยที่เหลือจากการผลิต เป็นเชื้อเพลิงไฮโดรเจนอัดเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้าและไอน้ำเพื่อใช้ในโรงงาน และได้นำกระแสไฟฟ้าที่เหลือใช้ จำหน่ายให้กับการไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งนับเป็นการแบ่งเบาภาระของรัฐด้านการพลังงานได้อีกทางหนึ่ง
เป้าหมายการจัดตั้งโรงงานผลิตน้ำตาลออร์แกนิค (NSUE) ทั้ง 5 โรงงาน
– โรงงานผลิตน้ำตาลออร์แกนิค (NSUE) โรงที่ 1 ที่จังหวัดอุดรธานี จำนวน 1 โรง
– โรงงานผลิตน้ำตาลออร์แกนิค (NSUE) โรงที่ 2 ที่จังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 1 โรง
– โรงงานผลิตน้ำตาลออร์แกนิค (NSUE) โรงที่ 3 ที่จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 1 โรง
– โรงงานผลิตน้ำตาลออร์แกนิค (NSUE) โรงที่ 4 ที่จังหวัดอุทัยธานี จำนวน 1 โรง
– โรงงานผลิตน้ำตาลออร์แกนิค (NSUE) โรงที่ 5 ที่จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 1 โรง
โรงงานผลิตน้ำตาลคาราเมลออร์แกนิค (Organic Syrup) จากมันสำปะหลัง (Casava)
โรงงานน้ำตาลคาราเมลออร์แกนิคเครือข่าย
บริษัท นิว อีร่า สกาย ยูไนเต็ด เอ็มไพร์ จำกัด (NSUE)
กลุ่มน้ำตาลคาราเมลออร์แกนิค (Organic Syrup) (NSUE)ได้เริ่มธุรกิจในปี 2564 โดยก่อตั้งบริษัท น้ำตาลคาราเมลออร์แกนิค เอซีดี จำกัด ที่ตำบลสุขเกษม อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา นับเป็นจุดเริ่มต้น ของกลุ่มน้ำตาลคาราเมลออร์แกนิค (NSUE)ในการทำธุรกิจน้ำตาลไซรัป โดยมีความมุ่งหวังที่จะเป็นผู้ผลิตน้ำตาลไซรัปรายใหญ่ของประเทศ ผลิตน้ำตาลคาราเมล กลูโคส ไซรัป (Glucose Syrup) ฟรุ๊คโตส ไซรัป(Fructos Syrup) ซอร์บิตอล(Sorbital) เพื่อจำหน่ายให้อุตสาหกรรมขนมหวาน ลูกกวาด ยาสีฟัน และยา ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ มีกำลังการผลิต รวมประมาณ 30,000,000 ตัน ต่อปี
กลุ่มน้ำตาลคาราเมลออร์แกนิค (NSUE) วางเป้าหมายไว้ในการที่จะเป็นผู้ผลิตน้ำตาลคาราเมลออร์แกนิค ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำตาลคาราเมลออร์แกนิคของประเทศ โดยผลิตน้ำตาลคาราเมล กลูโคส ไซรัป( Glucose Syrup) ฟรุ๊คโตส ไซรัป(Fructos Syrup) ซอร์บิตอล(Sorbital)ที่มีคุณภาพ ภายใต้เครื่องหมายการค้า “NSUE” กลุ่มน้ำตาลคาราเมลออร์แกนิค (NSUE) มีนโยบายในการผลิตให้ใกล้ชิดกับธรรมชาติมากที่สุด เริ่มตั้งแต่การปรับปรุงดินด้วยกระบวนการชีวะอินทรีย์ (Soil Additive Biotechnology) เพื่อการปลูกมันสำปะหลัง ส่งเสริมให้เกษตรกร ใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนปุ๋ยเคมี และผ่านกระบวนการผลิตที่ปลอดภัยได้มาตรฐาน ดีต่อสุขภาพผู้บริโภค เพราะกลุ่มน้ำตาลคาราเมลออร์แกนิค (NSUE) ตระหนักถึงสุขภาพของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังสุขภาพของผู้บริโภค สัตว์ และสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยเป็นอันดับหนึ่ง ภายใต้แนวคิด Health and Environment Concern (HEC)
กลุ่มน้ำตาลคาราเมลออร์แกนิค (NSUE) ให้ความสำคัญกับการจัดการการปลูกมันสำปะหลังอย่างเป็นระบบ จึงได้นำเทคโนโลยีกำหนดพิกัดด้วยดาวเทียม (Global Positioning System/GPS) และระบบสารสนเทศ ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Information System/GIS) มาใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงเพื่อให้ได้ผลผลิตมันสำปะหลังอย่างเต็มที่และเป็นระบบมากขึ้น โดยเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังสามารถปลูกและเก็บเกี่ยวได้ตามกำหนด และป้อนให้กับโรงงานได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ กลุ่มน้ำตาลคาราเมลออร์แกนิค (NSUE)เป็นผู้ผลิตน้ำตาลไซรัปที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรม น้ำตาลไซรัปของประเทศ โรงงานทุกโรงงานยังเป็นผู้ผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานสะอาดใช้เองในระบบ และยังทำการบริหารจัดการกากมันสำปะหลังที่เหลือจากการผลิตเป็นอาหารสัตว์ และเป็นเชื้อเพลิงไฮโดรเจนอัดเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้าและไอน้ำเพื่อใช้ในโรงงาน และได้นำกระแสไฟฟ้าที่เหลือใช้ จำหน่ายให้กับการไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งนับเป็นการแบ่งเบาภาระของรัฐด้านการพลังงานได้อีกทางหนึ่ง
เป้าหมายการจัดตั้งโรงงานผลิตน้ำตาลคาราเมลออร์แกนิค(NSUE) ทั้ง 5 โรงงาน
1. โรงงานผลิตน้ำตาลคาราเมลออร์แกนิค (NSUE) โรงที่ 1 ที่จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 1 โรง
2. โรงงานผลิตน้ำตาลคาราเมลออร์แกนิค (NSUE) โรงที่ 2 ที่จังหวัดนครสะแก้ว จำนวน 1 โรง
3. โรงงานผลิตน้ำตาลคาราเมลออร์แกนิค (NSUE) โรงที่ 3 ที่จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 1 โรง
4. โรงงานผลิตน้ำตาลคาราเมลออร์แกนิค (NSUE) โรงที่ 4 ที่จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 1 โรง
5. โรงงานผลิตน้ำตาลคาราเมลออร์แกนิค (NSUE) โรงที่ 5 ที่จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 1 โรง
โรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง (Tapioca Flour)
โรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังออร์แกนิคเครือข่าย
บริษัท นิว อีร่า สกาย ยูไนเต็ด เอ็มไพร์ จำกัด(NSUE)
โรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังออร์แกนิค(NSUE)ได้เริ่มธุรกิจในปี 2564 โดยก่อตั้งบริษัท โรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังออร์แกนิคเอซีดี จำกัด ที่ตำบลสุขเกษม อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา นับเป็นจุดเริ่มต้น ของกลุ่มโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังออร์แกนิค (NSUE)ในการทำธุรกิจแป้งมันสำปะหลังโดยมีความมุ่งหวังที่จะเป็นผู้ผลิตแป้งมันสำปะหลังออร์แกนิครายใหญ่ของประเทศ ผลิตแป้งมันสำปะหลังออร์แกนิค แป้งโมดิไฟด์ออร์แกนิค มอลโตเด็กตรินออร์แกนิค เด็กโตรส เพื่อจำหน่ายให้อุตสาหกรรอาหารอุตสาหกรรมการผลิตยา ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ มีกำลังการผลิต รวมประมาณ 1,500 ตันแป้งต่อวัน เป็นโรงงานที่ผลิตแป้งมันสำปะหลังใช้ในการบริโภค หรือในอุตสาหกรรม ผลิตแป้งโดยใช้หัวมันสำปะหลังสดมาล้างน้ำ แล้วโม่ให้แหลกจะได้น้ำแป้ง และกากจากน้ำแป้ง ก็ทำการแยกแป้งออกจากน้ำ โดยการทิ้งไว้ให้แป้งตกตะกอน หรือเข้าเครื่องแยกโดยตรง แป้งที่ได้นำมาทำให้แห้งโดยใช้ความร้อนแล้วบดให้ละเอียด เป็นแป้งมันสำปะหลัง หัวมันสำปะหลังสด 1 กิโลกรัมได้แป้งมันสำปะหลังเฉลี่ย 0.20 กิโลกรัม และได้กากมันสำปะหลัง 0.04-0.09 กิโลกรัม
เป้าหมายการจัดตั้งโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังออร์แกนิค (NSUE) ทั้ง 6 โรงงาน
1. โรงงานผลิตแป้งมันออร์แกนิค (NSUE) โรงที่ 1 ที่จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 1 โรง
2. โรงงานผลิตแป้งมันออร์แกนิค (NSUE) โรงที่ 2 ที่จังหวัดสระแก้ว จำนวน 1 โรง
3. โรงงานผลิตแป้งมันออร์แกนิค (NSUE) โรงที่ 3 ที่จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 1 โรง
4. โรงงานผลิตแป้งมันออร์แกนิค (NSUE) โรงที่ 4 ที่จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 1 โรง
5. โรงงานผลิตแป้งมันออร์แกนิค (NSUE) โรงที่ 5 ที่จังหวัดจันทบุรี จำนวน 1 โรง
6. โรงงานผลิตแป้งมันออร์แกนิค (NSUE) โรงที่ 6 ที่จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 1 โรง
โรงงานผลิตมันสำปะหลัง เส้นออร์แกนิค (NSUE) ได้เริ่มธุรกิจในปี 2564 โดยก่อตั้งบริษัท โรงงานผลิตมันสำปะหลังเส้นออร์แกนิค เอซีดี จำกัด ที่ตำบลสุขเกษม อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา นับเป็นจุดเริ่มต้น ของกลุ่มโรงงานผลิตมันสำปะหลังเส้นออร์แกนิค (NSUE) ในการทำธุรกิจ มันสำปะหลังเส้น โดยมีความมุ่งหวัง ที่จะเป็นผู้ผลิตมันสำปะหลังเส้นออร์แกนิค รายใหญ่ของประเทศ ผลิตมันสำปะหลังเส้นออร์แกนิค เพื่อส่งขายเป็นวัตถุดิบให้ กับอุตสาหกรรมอาหาร หรือ อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ หรืออุตสาหกรรมมันอัดเม็ดต่อไป ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ มีกำลังการผลิต รวมประมาณ 1,500 ตันต่อวัน (ปกติหัวมันสด 2.5 กิโลกรัม จะผลิตเป็น มันเส้นได้ 1 กิโลกรัม) โรงงานผลิตมันสำปะหลัง เส้นออร์แกนิค ใช้หัวมันสำปะหลังสด เป็นวัตถุดิบ ส่วนใหญ่เป็นการผลิตแบบง่ายๆ ใช้เครื่องสับหัวมันสำปะหลังให้เป็นชิ้นๆ แล้วนำไปทำให้แห้ง โดยตากไว้ที่ลานซีเมนต์ประมาณ 2-4 วัน หัว สด 1 กิโลกรัมผลิตมันสำปะหลังเส้นเฉลี่ย ได้ 0.40 กิโลกรัม ประมาณร้อยละ 95 ของมันเส้น ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตมันอัดเม็ด
โรงงานผลิตมันสำปะหลังเส้น(Cassava Chip)
โรงงานผลิตมันสำปะหลังเส้นออร์แกนิคเครือข่ายบริษัท นิว อีร่า สกาย ยูไนเต็ด เอ็มไพร์ จำกัด (NSUE)
โรงงานผลิตมันสำปะหลังออร์แกนิคอัดเม็ด (Cassava pellet)
โรงงานมันสำปะหลังออร์แกนิคอัดเม็ด (Cassava pellet ) เครือข่าย
บริษัท นิว อีร่า สกาย ยูไนเต็ด เอ็มไพร์ จำกัด (NSUE)
โรงงานผลิตมันสำปะหลังออร์แกนิคอัดเม็ด(NSUE)ได้เริ่มธุรกิจในปี 2564 โดยก่อตั้งบริษัท โรงงานผลิตมันสำปะหลังออร์แกนิคอัดเม็ดเอซีดี จำกัด ที่ตำบลสุขเกษม อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา นับเป็นจุดเริ่มต้น ของกลุ่มโรงงานผลิตมันสำปะหลังออร์แกนิคอัดเม็ด(NSUE)ในการทำธุรกิจมันสำปะหลังออร์แกนิคอัดเม็ดโดยมีความมุ่งหวังที่จะเป็นผู้ผลิตมันสำปะหลังออร์แกนิคอัดเม็ดรายใหญ่ของประเทศ เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับอาหารสัตว์ เนื่องจากมันอัดเม็ดจะมีปริมาณแป้งสูง (มากกว่าร้อยละ 65) จึงใช้เป็นแหล่งอาหารให้พลังงานของสัตว์ เนื่องจากมันอัดเม็ดมีส่งได้ตลอดปีและราคาไม่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับผลิตผลของธัญพืชต่าง ๆ ดังนั้นหลายประเทศจึงนิยมใช้มันอัดเม็ดของไทยในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ข้อได้เปรียบที่สำคัญของมันอัดเม็ด คือ สามารถขนส่งได้ง่าย (ไม่มีฝุ่นเหมือนมันเส้น) ขนย้ายได้สะดวกสามารถใช้เครื่องจักรในการขนส่งได้เช่นเดียวกับเมล็ดธัญพืชต่าง ๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ มีกำลังการผลิต รวมประมาณ 1,500 ตันต่อวันใช้มันเส้นที่ซื้อมาจากโรงงานผลิตมันเส้นในเครือของเราเองเป็นวัตถุดิบในการผลิตมันอัดเม็ด โดยใช้เครื่องอัด อัดออกมาเป็นแท่งคล้ายชอล์ก เรียกว่า มันสำปะหลังอัดเม็ด มันเส้น 1 กิโลกรัม ได้มันสำปะหลังอัดเม็ดเฉลี่ย 0.93 กิโลกรัม
เป้าหมายการจัดตั้งโรงงานผลิตมันสำปะหลังออร์แกนิคเส้น (NSUE) และโรงงานผลิตมันสำปะหลังออร์แกนิคอัดเม็ด(NSUE) ทั้งสิ้นอย่างละ 6 โรงงานดังนี้
1. โรงงานผลิตแป้งมันออร์แกนิค (NSUE) โรงที่ 1 ที่จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 1 โรง
2. โรงงานผลิตแป้งมันออร์แกนิค (NSUE) โรงที่ 2 ที่จังหวัดสระแก้ว จำนวน 1 โรง
3. โรงงานผลิตแป้งมันออร์แกนิค (NSUE) โรงที่ 3 ที่จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 1 โรง
4. โรงงานผลิตแป้งมันออร์แกนิค (NSUE) โรงที่ 4 ที่จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 1 โรง
5. โรงงานผลิตแป้งมันออร์แกนิค (NSUE) โรงที่ 5 ที่จังหวัดจันทบุรี จำนวน 1 โรง
6. โรงงานผลิตแป้งมันออร์แกนิค (NSUE) โรงที่ 6 ที่จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 1 โรง
โรงงานผลิตน้ำมันปาล์ม (Oil Palm)
โรงงานผลิตน้ำมันปาล์มออร์แกนิคภายใต้เครือข่าย
บริษัท นิว อีร่า สกาย ยูไนเต็ด เอ็มไพร์ จำกัด (NSUE)
โรงงานผลิตน้ำมันปาล์มออร์แกนิค ภายใต้เครือข่าย บริษัทนิวอีร่าสกายยูไนเต็ดเอ็มไพร์จำกัด (NSUE) ก่อตั้งขึ้นในปี 2564 เพื่อดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำมันปาล์ม โดยมุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับ การมีส่วนร่วมรักษาสิ่งแวดล้อมและ พัฒนาชุมชนเป็นหลักด้วยวิสัยทัศน์ ในการเป็นผู้บุกเบิกสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งให้กับเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน และการตลาดน้ำมันปาล์มของไทยในระดับภูมิภาคและระดับโลกเราไม่เพียงส่งเสริมอาชีพการปลูกปาล์มอย่างยั่งยืน โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมให้กับชุมชนแต่ยังมุ่งมั่นยกระดับตลาดน้ำมันปาล์ม ในประเทศด้วยการนำนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาพัฒนากระบวนการผลิต โดยคำนึงถึงการรักษาสมดุลธรรมชาติให้กับโลก ควบคู่ไปกับการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุด และคงคุณค่าทางโภชนาการจากธรรมชาติสูงสุด ให้กับลูกค้าทั้งกลุ่มธุรกิจและผู้บริโภคทั่วไป ด้วยกำลังการผลิตน้ำมันปาล์มเพื่อบริโภค รวม 5,000,000,000 ลิตร ต่อปี
เป้าหมายการจัดตั้งโรงงานผลิตน้ำมันปาล์มออร์แกนิค (NSUE) ทั้ง 9 โรงงานดังนี้
1. โรงงานผลิตน้ำมันปาล์มออร์แกนิค (NSUE) ที่จังหวัดชลบุรี จำนวน 1 โรง
2. โรงงานผลิตน้ำมันปาล์มออร์แกนิค (NSUE) ที่จังหวัดจันทบุรี จำนวน 1 โรง
3. โรงงานผลิตน้ำมันปาล์มออร์แกนิค (NSUE) ที่จังหวัดชุมพร จำนวน 1 โรง
4. โรงงานผลิตน้ำมันปาล์มออร์แกนิค (NSUE) ที่จังหวัดกระบี่ จำนวน 1 โรง
5. โรงงานผลิตน้ำมันปาล์มออร์แกนิค (NSUE) ที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี จำนวน 1 โรง
6. โรงงานผลิตน้ำมันปาล์มออร์แกนิค (NSUE) ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 1 โรง
7. โรงงานผลิตน้ำมันปาล์มออร์แกนิค (NSUE) ที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี จำนวน 1 โรง
8. โรงงานผลิตน้ำมันปาล์มออร์แกนิค (NSUE) ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 1 โรง
9. โรงงานผลิตน้ำมันปาล์มออร์แกนิค (NSUE) ที่จังหวัดกระบี่ จำนวน 1 โรง
โรงงานผลิตถุงมือยางพารา
บริษัท นิว อีร่า สกาย ยูไนเต็ด เอ็มไพร์ จำกัด (NSUE) ก่อตั้งขึ้นในปี 2564 เพื่อดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายถุงมือยางพารา โดยมุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการมีส่วนร่วมรักษาสิ่งแวดล้อม และพัฒนาชุมชนเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราเป็นหลัก มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่โครงการเมืองนิคมอุตสาหกรรมเกษตร จังหวัดระยอง ประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีโรงงานในจังหวัดต่างๆอีก 5 โรงงาน ซึ่งมีกำลังการผลิตยางประเภท เอสทีอาร์ 20 ในปริมาณ 5,000 เมตริกตันต่อเดือน ถุงมือยางพาราแท้ 2,000,000 กล่องต่อวัน และถุงมือยางไนไตร 3,000,000 กล่องต่อวัน บริษัทได้ตั้งเป้าหมายไว้ เพื่อผลิตสินค้าที่มีคุณภาพที่ดีที่สุดจากยางพาราธรรมชาติในเขตจังหวัดภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ซึ่งเป็นแหล่งที่มาของยางพาราที่ดีที่สุด ที่นี่มีน้ำยางพาราที่เข้มข้นในคุณภาพดีที่สุดในอาเซียน
เป้าหมายการจัดตั้งโรงงานผลิตถุงมือยางพารา(NSUE)ทั้ง 5 โรงงานดังนี้
1. โรงงานผลิตถุงมือยางพารา (NSUE) ที่จังหวัดระยอง จำนวน 1 โรง
2. โรงงานผลิตถุงมือยางพารา (NSUE) ที่จังหวัดนครพนม จำนวน 1 โรง
3. โรงงานผลิตถุงมือยางพารา (NSUE) ที่จังหวัดชุมพร จำนวน 1 โรง
4. โรงงานผลิตถุงมือยางพารา(NSUE) ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 1 โรง
5. โรงงานผลิตถุงมือยางพารา(NSUE) ที่จังหวัดพัทลุง จำนวน 1 โรง
โรงงานผลิตที่นอนยางพารา
บริษัท นิว อีร่า สกาย ยูไนเต็ด เอ็มไพร์ จำกัด (NSUE) ก่อตั้งขึ้นในปี 2564 เพื่อดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายที่นอนยางพารา โดยมุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการมีส่วนร่วมรักษาสิ่งแวดล้อม และพัฒนาชุมชนเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราเป็นหลัก มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่โครงการเมืองนิคมอุตสาหกรรมเกษตร จังหวัดนครพนม ประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีโรงงานในจังหวัดต่างๆอีก 3 โรงงาน ซึ่งมีกำลังการผลิตที่นอนยางพาราแท้ และหมอนหนุน รวมทุกขนาด ในปริมาณ 2,000 เมตริกตันต่อเดือน บริษัทได้ตั้งเป้าหมายไว้ เพื่อผลิตสินค้าที่มีคุณภาพที่ดีที่สุดจากยางพาราธรรมชาติในเขตจังหวัดภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เพื่อจำหน่ายไปทุกภูมิภาคของประเทศไทย และลูกค้าต่างประเทศทุกภูมิภาคของโลก
น้ำยางพาราธรรมชาติ เป็นวัสดุที่มีลักษณะพิเศษ ไม่อ่อนนุ่มหรือแข็งจนเกินไป แต่น้ำยางมีความยืดหยุ่นสูงตามธรรมชาติ ทำให้สามารถรองรับน้ำหนักในทุกสรีระของร่างกายและเพิ่มการนอนหลับอย่างประสิทธิภาพมากขึ้น ที่นอนยางพาราธรรมชาติ ยังช่วยลดแรงกดทับ ลดอาการปวดเมื่อยของร่างกาย อีกทั้งยังมอบความผ่อนคลายกล้ามเนื้อซึ่งมีผลทำให้นอนหลับได้อย่างง่ายขึ้น และยังช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
ความพิเศษมากไปกว่านั้น ผู้นอนสามารถนอนร่วมกันได้โดยที่ทั้งคู่ไม่รบกวนซึ่งกันและกัน ขณะที่อีกคนพลิกตัวในเวลานอน ที่นอนยางพาราก็ไม่ได้ทำให้เกิดเสียงดัง แม้ว่าน้ำหนักของพวกคุณทั้งคู่จะไม่เท่ากัน และมีโอกาสน้อยมากที่คุณอีกคนหนึ่งจะตื่นหรือรู้สึกตัว คุณจะได้รับการพักผ่อนนอนหลับที่สบายอย่างเต็มที่
มีความเข้าใจผิดว่าที่นอนยางพาราธรรมชาติ อาจทำให้เกิดอาการแพ้ แต่ไม่ถูกต้องเลย ยางพารามีคุณสมบัติในการต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันไรฝุ่น ทนต่อเชื้อราและโรคราน้ำค้าง ทำให้ที่นอนยางพาราเหมาะสำหรับกลุ่มผู้ที่มีอาการภูมิแพ้หรือผู้ที่รักษาสุขภาพ
เป้าหมายการจัดตั้งโรงงานผลิตที่นอนยางพารา(NSUE) ทั้ง 3 โรงงานดังนี้
1. โรงงานผลิตที่นอนยางพารา (NSUE) ที่จังหวัดนครพนม จำนวน 1 โรง
2. โรงงานผลิตที่นอนยางพารา (NSUE) ที่จังหวัดระยอง จำนวน 1 โรง
3. โรงงานผลิตที่นอนยางพารา (NSUE) ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 1 โรง
โรงงานผลิตยางรถยนต์
บริษัทนิวอีร่าสกายยูไนเต็ดเอ็มไพร์จำกัด(NSUE) ก่อตั้งขึ้นในปี 2564 เพื่อดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายยางล้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลประสิทธิภาพสูง ยางล้อรถยนต์บรรทุกขนส่ง และยางล้อรถเพื่อการเกษตรโดยมุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการมีส่วนร่วมรักษาสิ่งแวดล้อมและพัฒนาชุมชนเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราเป็นหลัก มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีโรงงานในจังหวัดต่างๆอีก 5 โรงงาน บริษัทนิวอีร่าสกายยูไนเต็ดเอ็มไพร์จำกัด(NSUE) ยังได้พิจารณาการก่อสร้าง “โรงงานผลิตยางล้อแบบอัตโนมัติ (Highly automated smart tire factory)” ด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยที่สุด ตลอดสายการผลิตที่มีอยู่ทั้ง 5 โรงงาน โดยมุ่งเป้าหมายกำลังการผลิตยางล้อโดยรวมได้ถึงปีละ 45 ล้านเส้น ดังนี้
1. ผลิตยางล้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลประสิทธิภาพสูง 30 ล้านเส้น
2. ผลิตยางล้อรถยนต์บรรทุกขนส่ง 10 ล้านเส้น
3. ผลิตยางล้อรถเพื่อการเกษตร 5 ล้านเส้น
บริษัทได้ตั้งเป้าหมายไว้ เพื่อผลิตสินค้าที่มีคุณภาพที่ดีที่สุดจากยางพาราธรรมชาติในเขตจังหวัดภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เพื่อจำหน่ายไปทุกภูมิภาคของประเทศไทย และลูกค้าในตลาดต่างประเทศทุกภูมิภาคของโลก ภายใต้เครื่องหมายการค้า “ New Era Tire ”
เป้าหมายการจัดตั้งโรงงานผลิตยางรถยนต์ New Era Tire ทั้ง 5 โรงงานดังนี้
1. โรงงานผลิตยางรถยนต์ New Era Tire ที่จังหวัดชลบุรี จำนวน 1 โรง
2. โรงงานผลิตยางรถยนต์ New Era Tire ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 1 โรง
3. โรงงานผลิตยางรถยนต์ New Era Tire ที่จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 1 โรง
4. โรงงานผลิตยางรถยนต์ New Era Tire ที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี จำนวน 1 โรง
5. โรงงานผลิตยางรถยนต์ New Era Tire ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 1 โรง
แผนแม่บทการพัฒนาประเทศเอเชีย
โดย NSUE
ประเทศไทย
อาเซียน
เอเชีย
โครงการเมืองนิคมอุตสาหกรรมเกษตร
38 ศูนย์ในประเทศไทย
แนวทางการพัฒนาเมือง