77 ศูนย์ จังหวัดละ 1 ศูนย์
ในการสร้างผลผลิตการเกษตรเพื่อป้อนเข้าสู่ศูนย์จัดการผลผลิตการเกษตรนั้น ทั้งหมด 77 ศูนย์ (จังหวัด) มีแนวทางในการจัดการ ดังนี้
ศูนย์ส่งเสริมเกษตรกร
การดำเนินงานให้การสนับสนุนเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ดังนี้
1. ชักชวนเกษตรกรและผู้ที่สนใจงานเกษตร เข้าร่วมโครงการ
2. นำเกษตรกรที่มาเข้าร่วมโครงการเข้า “โรงเรียนพัฒนาการเกษตรตามรอยพ่อ” เพื่อรับการถ่ายทอดองค์ความรู้ ในเรื่องหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่ การทำการเกษตร ประณีต วิทยาศาสตร์การเกษตร การบริหารจัดการธุรกิจ การเงิน การบัญชี การตลาด การปรับทัศนคติ และอื่นๆ ที่สร้างสรรค์ให้ เกษตรกรที่เข้าโรงเรียนได้รับประโยชน์
3. ดำเนินการเรื่องที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยมอบให้เกษตรกรที่ผ่านหลักสูตรของโรงเรียน
-
เกษตรกรที่ไม่มีที่ดินทำกิน
จัดหาที่ดินและบ้านพักอาศัยคนละ 10 ไร่ ใช้เป็นที่พักอาศัยและที่ดินทำกิน
-
เกษตรกรที่มีที่ดินของตัวเอง
จัดการปรับปรุงสภาพที่ดินและที่พักอาศัยให้เหมาะสม
4. ให้เงินทุนแก่เกษตรกรไม่เกิน 10,000,000 บาทต่อคน เพื่อใช้ในการปลดเปลื้องภาระหนี้สินและเป็นเงินทุนในการประกอบอาชีพ
5. ในการดำเนินการอาชีพให้กับเกษตรกรในโครงการ มีแนวทางดังนี้
5.1. ดำเนินการจัดหาตลาดซื้อผลผลิตการเกษตรเพื่อทราบความต้องการของตลาด
5.2. จัดการออกแบบการสร้างผลผลิตตามความต้องการของตลาด
5.3. จัดระบบการทำการเกษตร การแปรรูปผลผลิตตามความต้องการของตลาด
5.4. จัดระบบส่งเสริม สนับสนุน การทำการเกษตร
5.5. จัดสร้างระบบอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตเกษตร
5.6. จัดรูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มเกษตรกรในรูปแบบสหกรณ์หรือบริษัทฯ
5.7. สหกรณ์หรือบริษัทฯ รับซื้อผลผลิตจากเกษตรกร
5.8. สหกรณ์หรือบริษัทฯ ขายผลผลิตทั้งหมดให้กับบริษัท นิว อีร่า สกาย ยูไนเต็ด เอ็มไพร์ จำกัด (NSUE)
5.9. บริษัท นิว อีร่า สกาย ยูไนเต็ด เอ็มไพร์ จำกัด (NSUE) ขายผลผลิตต่อไปยังตลาดที่ได้ติดต่อไว้ตอนต้น
5.10. เกษตรกรส่งคืนเงินลงทุนที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัท นิว อีร่า สกาย ยูไนเต็ด เอ็มไพร์ จำกัด (NSUE) พัฒนาประเทศอาเซียน
5.11. สหกรณ์หรือบริษัทฯ ดำเนินการบริหารจัดการต่อไป ตามระบบที่ได้ดำเนินการมาแต่ต้น อย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ตามหลักการและแนวทางที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานไว้
โรงเรียนพัฒนาเกษตรกรตามรอยพ่อ
เป็นสถาบันฝึกอบรมพัฒนาเกษตรกร โดยนำเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเข้า “โรงเรียนพัฒนาการ เกษตรตามรอยพ่อ” เพื่อรับการถ่ายทอดองค์ความรู้ในเรื่อง หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่ การทำการเกษตรประณีต วิทยาศาสตร์การเกษตร การบริหารจัดการธุรกิจ การเงิน การบัญชี การตลาด การปรับทัศนคติ และอื่นๆ ที่สร้างสรรค์ให้เกษตรกรที่เข้าโรงเรียนได้รับประโยชน์
ศูนย์พัฒนาดินเพื่อทำการเกษตร
เป็นศูนย์การพัฒนาที่ดินเพื่อทำการเกษตร ในโครงการพื้นที่เพาะปลูกพืชและพื้นที่เลี้ยงสัตว์ โดย กระบวนการที่ใช้ไบโอเทคโนโลยี ร่วมกับการทำเขตกรรม เพื่อปรับสภาพดินให้เหมาะสมต่อการทำ ประโยชน์ตามที่กำหนด และยังเป็นหน่วยงานที่เก็บรวบรวมข้อมูลสภาพดิน ลักษณะดินการแก้ไขและพัฒนา ปรับปรุงดินทุกประเภทให้สามารถทำการเกษตรได้อย่างปลอดภัยและยั่งยืน
ศูนย์จัดการระบบชลประทานและจัดการน้ำเพื่อการเกษตร
ศูนย์การจัดการระบบชลประทานเพื่อการการเกษตรและอุปโภคบริโภค เป็นศูนย์สั่งการในการ จัดการระบบน้ำทั้งน้ำผิวดินและน้ำใต้ดิน มีแผนและการดำเนินการขุดแม่น้ำสายใหม่ การขุดลอกคลอง หนอง บึง การสร้างฝายเก็บกักน้ำ เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการเก็บน้ำ และให้มีน้ำสำหรับการอุปโภคบริโภค และทำการเกษตรได้ตลอดทั้งปี การจัดระบบชลประทานเข้าสู่แปลงเกษตร ในพื้นที่ชลประทานและรวมถึง การจัดการน้ำเพื่อการเกษตรในเขตนอกชลประทาน
แนวทางการพัฒนาเมือง
เมืองอุตสาหกรรมเกษตร
เครือข่ายเกษตรกร
องค์กรกระจายสินค้าผลิตภัณฑ์การเกษตร
หน่วยงานจัดการขยะจากผลผลิตการเกษตรและวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
ศูนย์บริหารสภาพแวดล้อมรอบเมืองอุตสาหกรรม
เมืองอุตสาหกรรมและทางการเกษตร