การจัดการด้านเศรษฐกิจพอเพียงและอาหาร


เศรษฐกิจพอเพียง


“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนว ทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และ ความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ


เกษตรทฤษฎีใหม่


ตั้งอยู่บนกรอบแนวคิดของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ซึ่งหลักปรัชญานี้ประกอบด้วย 3 หลักการ และ 2 เงื่อนไข คือ หลักความพอประมาณ (Moderation) หลักความมีเหตุผล (Reasonableness) และหลักการมีภูมิคุ้มกัน (Immunity) ส่วน 2 เงื่อนไข คือ เงื่อนไขความรู้ และเงื่อนไขคุณธรรม

ส่วนเกษตรทฤษฎีใหม่ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติหนึ่งของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีขั้นตอนของ การพัฒนาแบ่งออกได้ 3 ขั้น คือ


ขั้นที่ 1

ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น



เริ่มต้นจากการมุ่งแก้ปัญหาของเกษตรกรที่มีน้ำไม่เพียงพอสำหรับการเกษตร โดยการใช้แนวทาง การจัดทำแหล่งน้ำขนาดเล็กในฟาร์ม เช่น การขุดบ่อ ซึ่งจะทำให้ลดความเสี่ยงในเรื่องน้ำ เกิดหลักประกัน ในการผลิตอาหารเพื่อการยังชีพเบื้องต้น  ส่วนที่ดินการเกษตรอื่น จะใช้ในการผลิตเพื่อตอบสนอกับความ ต้องการพื้นฐานอื่นของครอบครัว ซึ่งอาจมีการขายผลผลิตส่วนเกิน เพื่อเป็นรายได้ สำหรับใช้จ่ายในการ ยังชีพที่จำเป็น ที่ไม่สามารถผลิตเองได้  การเกษตรทฤษฎีใหม่ในขั้นนี้  จึงเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในระดับ ครอบครัว  แต่เกษตรกรส่วนใหญ่อาจไม่สามารถเริ่มต้นในขั้นตอนแรกนี้ได้และอาจจำเป็นที่หน่วยงาน      ต่าง ๆ จะต้องจัดความช่วยเหลือเพื่อสนับสนุนเกษตรกร


ในเกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นต้นนี้ มีแนวทางสำคัญในการการจัดสรรที่ดินการเกษตรและที่อยู่อาศัย โดยแบ่งพื้นที่ ออกเป็น 4 ส่วน ตามอัตราส่วน 30:30:30:10 คือ พื้นที่ส่วนที่หนึ่งประมาณ 30% ให้ขุดสระ เก็บกักน้ำ เพื่อใช้เก็บกักน้ำฝนในฤดูฝนและ ใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์น้ำและพืช น้ำต่างๆ  พื้นที่ส่วนที่สองประมาณ 30% ให้ปลูกข้าวในฤดูฝน เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันในครัวเรือน ให้เพียงพอตลอดปี เพื่อตัดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้ พื้นที่ส่วนที่สามประมาณ 30% ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน หากเหลือบริโภคก็นำไปจำหน่าย และพื้นที่ส่วนที่สี่ประมาณ 10% ใช้เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ และโรงเรือนอื่นๆ

——————–


ขั้นที่ 2

ทฤษฎีใหม่ขั้นกลาง



เมื่อเกษตรกรได้เริ่มต้นปฏิบัติตามเกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นต้นแล้ว มีความพอเพียงและความมั่นคงใน ขั้น พื้นฐาน ระดับหนึ่งแล้ว ในขั้นตอนต่อมาจึงเป็นเรื่องของการรวมกลุ่มเกษตรกรในรูปแบบต่าง เช่น กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ หรือวิสาหกิจ  ซึ่งการร่วมมือกันนี้ก็เพื่อสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นกับกลุ่ม โดยรวมบนพื้นฐานของการไม่เบียดเบียนกัน การแบ่งปันช่วยเหลือกันตามกำลัง และความสามารถของตน ซึ่งจะ ทำให้ชุมชนโดยรวมเกิดความพอเพียงในวิถีปฏิบัติด้วย

——————–


ขั้นที่ 3

ทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้า 



กลุ่มเกษตรกรที่ได้ดำเนินการตามทฤษฎีใหม่ในขั้นกลาง จนประสบความสำเร็จเบื้องต้น อาจก้าว เข้าสู่ขั้นก้าวหน้า โดยการประสานความร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ ในระดับประเทศ เพื่อยกระดับการทำธุรกิจ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร เช่น การทำความร่วมมือกับธนาคาร เพื่อนำเงินมาลงทุนในธุรกิจ หรือการทำข้อตกลงกับบริษัทฯ เพื่อขายผลผลิตให้

——————–

NSUE


การดำเนินการ


ในการพัฒนาการเกษตรมีเป้าหมายคือ “ครัวโลก” จะทำให้เกษตรกรมีความสุข มีชีวิตความเป็น อยู่ดีขึ้น ไม่มีหนี้สิน มีอาชีพเกษตรกรรมที่เพียงพอ มั่งมี และมั่งคั่งตามลำดับ สร้างผลผลิตการเกษตรคุณภาพ สูง ราคาสูง ส่งออกสู่ตลาดโลก ทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศขยายตัว ในการพัฒนาการเกษตรมีเป้าหมายคือ “ครัวโลก” จะทำให้เกษตรกรมีความสุข มีชีวิตความเป็น อยู่ดีขึ้น ไม่มีหนี้สิน มีอาชีพเกษตรกรรมที่เพียงพอ มั่งมี และมั่งคั่งตามลำดับ สร้างผลผลิตการเกษตรคุณภาพ สูง ราคาสูง ส่งออกสู่ตลาดโลก ทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศขยายตัว

ดังนั้น การบริหารจัดการระบบการเกษตรไปสู่ระบบเกษตรปลอดสารพิษ เกษตรอินทรีย์ (Organic) และระบบการเกษตรไบโอเทคโนโลยี (Bio Technology Agriculture) จะต้องมีการออกแบบการทำ การเกษตรอย่างชาญฉลาด (Smart Farming) ด้วยการสร้างนวัตกรรม นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ใน การเกษตรกรรม มีระบบตรวจสอบ ควบคุม สนับสนุน 

การออกแบบการทำการเกษตรจะต้องใช้ หลักการทางวิทยาศาสตร์ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ หลักการธุรกิจ หลักการตลาด หลักการพัฒนาเกษตรสมัยใหม่ ไบโอเทคโนโลยี่ นำมาบูรณาการ(Integration)  ออกแบบเป็น “ธุรกิจวิทยาศาสตร์การเกษตร (Agriculture Science Business)”

การดำเนินการการเกษตรทั้งหมดจะถูกเฝ้ามอง (Monitoring)  เก็บข้อมูล คอยดูแล ติดตาม เฝ้าระวังความผิดปกติในพื้นที่ทำการเกษตร มีการตรวจสอบ ให้การสนับสนุนช่วยเหลือในการดำเนินการ การเกษตร รวมถึงระบบแปรรูปสินค้าเกษตรซึ่งสามารถควบคุมและสั่งการระยะไกลได้ รวมถึงการนำเสนอ ภาพและ เสียงจากแหล่งผลิตสู่สายตาลูกค้า ในการทำการตลาด


“ธุรกิจวิทยาศาสตร์การเกษตร (Agriculture Science Business)” เป็นการทำการเกษตรประณีต แม่นยำ จึงให้ความสำคัญกับระบบฐานข้อมูล การเฝ้ามอง (Monitoring) การควบคุม ตรวจสอบ และการสั่งการระยะไกล ทั้งนี้เพื่อการพัฒนา ปรับปรุง ป้องกันและแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างทันท่วงที



แนวทางการดำเนินการ 

แบ่งส่วนงานเป็น 5 ส่วน ดังนี้

1. เมืองอุตสาหกรรมเกษตร (Agro Industry Town)

2. เครือข่ายเกษตรกร (Agriculturist Community)

3. องค์กรกระจายสินค้าผลิตภัณฑ์การเกษตร (Agricultural Products Distribution Organization)

4. หน่วยงานจัดการขยะจากผลผลิตการเกษตรและวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร (Zero waste Institution)

5. ศูนย์บริหารสภาพแวดล้อมรอบเมืองอุตสาหกรรม (Industry Town Environment Management Center)

 


โครงการเมืองนิคมอุตสาหกรรมเกษตร

38 ศูนย์ในประเทศไทย

8 ศูนย์

ในภาคเหนือ

11 ศูนย์

ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

12 ศูนย์

ในภาคกลาง

7 ศูนย์

ในภาคใต้


แนวทางการพัฒนาเมือง

เมืองอุตสาหกรรมเกษตร

เครือข่ายเกษตรกร

องค์กรกระจายสินค้าผลิตภัณฑ์การเกษตร

หน่วยงานจัดการขยะจากผลผลิตการเกษตรและวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

ศูนย์บริหารสภาพแวดล้อมรอบเมืองอุตสาหกรรม

เมืองอุตสาหกรรมและทางการเกษตร

คุณต้องการทำความรู้จักกับ NSUE


เรามุ่งมั่นที่จะพัฒนาสภาพความเป็นอยู่และสิ่งแวดล้อมให้อยู่ร่วมกันในเมืองแห่งอนาคตได้อย่างไร

NSUE

บริษัท นิว อีร่า สกาย ยูไนเต็ด เอ็มไพร์ จำกัด

ทรัพย์แก้ว ทาวเวอร์

เลขที่ 448 / 414 ชั้นที่ 1 ถนนประชาอุทิศ แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย.

info@th.nsuec.com


+ 66 65 484 8888

+ 66 92 513 9999